โหลด แอปฯหมอชนะ น้อยลง – เคสผู้ติดเชื้อที่จันทบุรี แจ้งเตือนได้ถึง 4,760 คน
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประชาชนใช้ข้อมูลโหลดแอปพลิเคชันหมอชนะลดลง จาก 6,800,000 คน เหลือ 6,700,000 คน ขอย้ำว่าแอปฯ หมอชนะ จะทำให้การสอบสวนโรคง่ายยิ่งขึ้น แต่หากไม่โหลด หรือลบออก ก็จะทำให้การควบคุมโรคลำบากมากยิ่งขึ้น ต้องขอความร่วมมือประชาชน โดยตัวอย่างการสอบสวนโรคจากแอปฯ หมอชนะ เมื่อวันที่ 29 ม.ค.64 มีกรณีผู้ติดเชื้อที่ จ.จันทบุรี ซึ่งสามารถแจ้งประชาชนผ่านแอปฯหมอชนะได้ถึง 4,760 คน ทำให้การควบคุมโรคเกิดความสะดวกและรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ วันนี้ 1 ก.พ.64 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. จะมีการ
คนกรุง ใส่หน้ากากอนามัยกว่า 95 % เขตดอนเมือง ใส่น้อยที่สุด
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีการวิจัยนำระบบปัญญาประดิษฐ์ ระบบ AiMASK มาประเมินการใส่หน้ากากอนามัยของคนไทย นำร่องในกรุงเทพฯ โดยใช้กล้องวงจรปิดที่มีอยู่แล้ว วิเคราะห์การใส่หน้ากากอนามัยของคนไทย หากเป็นสีแดง คือ ไม่ใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่หน้ากากอนามัยน้อยกว่าร้อยละ 90 สีเหลือง คือ ใส่ไม่ถูกต้อง เช่น ใต้คาง ใต้จมูก คล้องหูไว้ มีการใส่หน้ากากอนามัยร้อยละ 90-95 และสีเขียว คือ ถูกต้องมีการใส่หน้ากากอนามัยมากกว่าร้อยละ 95 จากการประเมินใน 15 เขต กทม. พบว่า เขตดอนเมือง เป็นสีแดง และเขตบางกะปิ เป็นสีเหลือง ส่วนร้อยละการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องมีร้อยละ 97.53 ใส่ไม่ถูกต้องร้อยละ 1.42 และไม่ใส่หน้ากากร้อยละ 1.05 ดังนั้น ขอให้ใส่ให้ถูกต้องเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ
นอกจากนี้ ระบบยังวิเคราะห์ได้ว่า ช่วงเช้ามีการใส่หน้ากากอนามัยไม่ถูกต้องร้อยละ 2.59 ส่วนช่วงเย็นเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.02 วันเสาร์และอาทิตย์ใส่หน้ากากอนามัยไม่ถูกต้องหรือใส่ลดลง ต้องเน้นย้ำว่าการออกมารับประทานอาหารนอกบ้านหรือเที่ยววันเสาร์และอาทิตย์ ขอให้สวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด
สมุทรปราการ คัดกรองเชิงรุกที่ตลาดโต้รุ่ง ปากน้ำ
กรณีที่พบผู้ติดเชื้อที่ จ.สมุทรปราการ ที่มีผู้ติดเชื้อรวม 21 คน
-ผู้ป่วยคนแรกเป็นหญิงชาวเมียนมา อายุ 19 ปี เป็นพนักงานบริษัท และ มีการสอบสวนโรคย้อนหลังซึ่งพบว่าเกี่ยวเนื่อง 2 เหตุการณ์ คือเกี่ยวข้องกับบริษัทพนักงานหญิงคนแรกที่ติดเชื้อทำงานอยู่ มีการตรวจหาผู้ติดเชื้อในบริษัทพบ 18 คน เป็นชาวเมียนมา 15 คน คนไทย 2 คน และกัมพูชา 1 คน จากพนักงานทั้งหมด 281 คน
-การตรวจในชุมชนตลาดโต้รุ่งที่พักอาศัยอยู่ พบผู้ติดเชื้อ 2 คน เป็นชาวเมียนมาทั้ง 2 คน และเนื่องจาก ชุมชนดังกล่าวค่อนข้างแออัด มีคนอยู่ 1,200 คน เจ้าหน้าที่จึงลงไปตรวจคัดกรองเชิงรุกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกรณีนี้สามารถทำได้ค่อนข้างรวดเร็วและผู้สัมผัสส่วนใหญ่อยู่สถานที่กักกันตัวเรียบร้อยแล้ว ถือว่าดำเนินการได้ดีควบคุมได้รวดเร็ว ดังนั้นหากคนที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับผู้ป่วยบริเวณตลาดโต้รุ่งแล้วไม่ได้รับการกักตัวก็แจ้งเจ้าหน้าที่ได้เพื่อจะได้ตรวจได้ครบถ้วนมากขึ้น รวมทั้งพนักงานบริษัทเดียวกับผู้ติดเชื้อหากยังไม่ได้ตรวจ ก็สามารถแจ้งมาได้ จุดเสี่ยงสำคัญที่พบการติดเชื้อหลัก ๆ คือติดเชื้อจากเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจุดที่สำคัญคือในห้องน้ำและสถานที่รับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งเป็นจุดที่เราถอดหน้ากากอนามัย
มหาสารคาม ติดโรคโควิด-19 อีก 1 คน จากคลัสเตอร์โต๊ะแชร์
นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าฯ จ.มหาสารคาม พร้อม นพ.ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ นายแพทย์สาธารณสุข จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 1 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มเดียวกับคลัสเตอร์งานกินเลี้ยงสังสรรค์โต๊ะแชร์ ทำให้ขณะนี้ จ.มหาสารคาม พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจากกลุ่มคลัสเตอร์วงแชร์รวมแล้ว 16 คน
กลุ่มเสี่ยงพุ่งกว่า 3,000 คน
เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก 5 จุด ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ประกอบด้วย ศูนย์แพทย์ราชภัฏ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองบ้านส่องนางใย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองศรีสวัสดิ์ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองบูรพา และศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่ำ 3,313 คน และได้ดำเนินการตรวจผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 100 คน พบยืนยันติดเชื้อ 1 คน รอผลตรวจยืนยัน 1 คน
แฟ้มภาพ สำนักงานสาธารณสุข จ.มหาสารคาม
ขอนแก่น ติดเชื้อรายที่11 เจ้าหน้าที่เสี่ยงติดเชื้อ14 คน
จากคลัสเตอร์ที่จ.มหาสารคาม ลามมาที่จ.ขอนแก่น นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ของจังหวัด เป็นรายที่ 11 ชาย อายุ 57 ปี ชาวจ.มหาสารคาม ขณะนี้เข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยขับรถยนต์ส่วนตัวมาพร้อมกับภรรยา เพื่อเข้าตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งของจ.ขอนแก่น เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 27 ม.ค.64 โดยมีอาการวิงเวียน มีไข้ แพทย์ตรวจคัดกรองพบว่าปอดติดเชื้อ จึงได้ประสานโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เพื่อส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อพร้อมกับใช้ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากปอดมีอาการลุกลามจากปอดด้านขวาไปซ้าย ขณะนี้อาการดีขึ้น
ส่วนบุคลากรของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งรับตัวผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล มีบุคลากรเสี่ยงต่ำ 6 คน ขณะนี้เข้าสู่กระบวนการสังเกตตัวเองและรายงานต่อทีมงานทุกวัน ขณะเดียวกันยังมีบุคลากรเสี่ยงสูง 8 คน โรงพยาบาลสั่งกักตัว 14 วัน
ด้านศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) จ.ราชบุรี รายงานว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อ
-เป็นหญิง 1 คน
-ชาย 1 คน
-เด็กหญิง 1 คน
-รายที่ 29 ผู้ป่วยเป็นหญิง อายุ 58 ปี เดินทางมาจาก จ.มหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค.64 ด้วยรถยนต์ส่วนตัว สัมพันธ์กับผู้ป่วยรายที่ 4 ของ จ.มหาสารคาม
-รายที่ 30 ผู้ป่วยเป็นชายอายุ 35 ปี บุตรเขยเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของรายที่ 29 และเป็นผู้ร่วมเดินทางของผู้ป่วยรายที่ 29 มาจากที่ อ.บ้านโป่ง
-รายที่ 31 ผู้ป่วยเป็นเด็กหญิงอายุ 4 เดือน เป็นหลานผู้ป่วยรายที่ 29 และเป็นบุตรของผู้ป่วยรายที่ 30 ขณะนี้ผู้ป่วยทั้ง 3 คนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
เร่งสอบไทม์ไลน์หนุ่มแมสเซนเจอร์ที่จ.ระยอง
นพ.สุนทร เหรียญภูมิการกิจ สาธารณสุขจ.ระยอง กล่าวถึง ผู้ป่วยรายล่าสุดว่าเป็นชาย อายุ 35 ปี อาศัยอยู่ใน ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง เป็นพนักงานส่งเอกสารในโรงงาน ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ติดเชื้อมาจากที่ไหน เบื้องต้น ได้เร่งสอบสวนโรคของภรรยาและลูก รวม 2 คน พร้อมเพื่อนสนิท 2 คน กลุ่มเสี่ยงสูงสัมผัสใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังมีเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงน้อยอีก 22 คน เข้ามาตรวจหาเชื้อเบื้องต้นไม่พบ จึงกักตัวรอดูอาการอีก 14 วัน สำหรับสถานการณ์ในจังหวัดระยอง ขณะนี้ถือว่ายังทรงตัว แต่ไม่ควรประมาท
รพ.แม่สอด จ.ตาก โล่ง ผลตรวจเชื้อเป็นลบ
หลังจากพบว่ามีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก เป็นพยาบาล 1 คน ติดเชื้อ