ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ หลายพื้นที่อาจไม่ได้ประสบปัญหาฝนตกแค่อย่างเดียว แต่ยังเจอกับปัญหาใหญ่อย่างน้ำท่วม หลายคนจึงจำเป็นต้องลุยน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่กับน้ำติดต่อหลายวัน โอกาสที่จะทำให้เกิดโรคจึงมีเพิ่มมากขึ้น เพราะในน้ำฝนมีสารปนเปื้อนและเชื้อโรคมากมาย รวมไปถึงตึก อาคาร ที่อยู่อาศัยที่โดนน้ำกัดเซาะสิ่งสกปรกพัดพามา โรคที่เกิดจากน้ำท่วมจึงเป็นโรคที่ค่อนข้างอันตราย
มาดูกันว่า โรคที่เกิดจากน้ำท่วมมีอะไรบ้าง? แล้วต้องรับมือเพื่อจัดการกับโรคพวกนี้อย่างไร
เป็นโรคที่มักพบได้ในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีหนูเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Leptospira เข้ามา แบคทีเรียชนิดนี้มักพบว่ามีการติดเชื้อในสัตว์ โดยพาหะมักจะเป็นสัตว์จำพวกหนู เมื่อได้รับเชื้อแล้ว อาจจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมีการติดเชื้อที่ท่อไต และปล่อยเชื้อออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ยิ่งสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ ฝนที่ตกลงมานั้นจะชะล้างเอาเชื้อโรคจากสถานที่ต่างๆและไหลมารวมกันบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ทำให้เชื้อโรคจากเชื้อปัสสาวะของหนูปะปนกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจาย และแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังตามดิน โคลน แม่น้ำ ลำคลอง แอ่งน้ำ หากมีบาดแผลที่ยังไม่หายแล้วเดินลุยน้ำ เชื้อโรคจะเข้าผ่านทางผิวหนัง จนทำให้เกิดโรคนี้ได้
เกิดจากการที่เราสัมผัสน้ำสกปรกจากการเดินลุย ย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรคหรืออยู่กับความอับชื้นจากเสื้อผ้าเป็นเวลานาน จะทำให้มีอาการเท้าเปื่อย คันตามซอกนิ้วเท้า นิ้วเท้าลอก อาจถึงขั้นเป็นแผล หากมีอาการบวมแดงบริเวณที่เกิดแผลหรือตามทางเดินของเส้นน้ำเหลือง เริ่มมีหนอง และมีไข้สูง ให้รีบพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อที่รุนแรง จนเข้าสู่กระแสเลือดได้
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ที่แพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงลายตัวเมีย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการป่วยรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา หากบริเวณที่พักเรามีน้ำท่วมขังอยู่รอบๆ ให้ระวังไว้ให้ดีเพราะนี่คือแหล่งฟักตัวชั้นดีของลูกน้ำยุงลาย อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดทั่วไป แต่จะมีอาการแสดงที่รุนแรงกว่า คือ มีไข้สูงถึงสูงมาก ปวดหัวหนัก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วลำตัว อาจพบผื่นแดงหรือจ้ำเลือดใต้ผิวหนังทั่วตัว บางรายอาจคลื่นไส้อาเจียน ในผู้ป่วยบางคนอาการหนักถึงขั้นจนหมดสติ เกิดภาวะเลือดออกตามเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน และ Dengue Shock Syndrome ซึ่งเป็นภาวะที่เสียเลือดมาก พลาสมารั่ว ความดันโลหิตต่ำ นำไปสู่การช็อกที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบ โรคพวกนี้จึงมักพบบ่อยในเหตุการณ์นี้ เนื่องจากการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด มีเชื้ออีโคไลจากน้ำฝนที่ปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเชื้ออีโคไลนี้เป็นเชื้อที่ทำให้ลำไส้อักเสบติดเชื้อ จึงทำให้เกิดความผิดปกติในระบบย่อยอาหารตามมาความสะอาดและคุณภาพอาหารลดต่ำลง หากได้รับเชื้อจะมีอาการเหล่านี้ ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะมีไข้ เบื่ออาหาร และตัวซีดเหลืองเนื่องจากขาดน้ำและสารอาหาร
5.โรคตาแดง
โรคตาแดงเกิดจากเชื้อไวรัส Chlamydia Trachomatis และ Bacterial Conjunctivitis อาจมาจากภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา เกิดจากการเอามือที่สกปรกไปขยี้หรือสัมผัสดวงตา รวมถึงใช้ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าเช็ดหน้าที่สกปรกหรือมีเชื้อไวรัสไปสัมผัสกับดวงตา ผู้ป่วยจะมีอาการคันตา มีขี้ตามากกว่าปกติ มีลักษณะเป็นหนองและมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้า และมองเห็นได้ไม่ชัดเจน หากรู้ตัวว่าตัวเองเป็น ควรรีบพบปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ทันทีเพื่อรับยามากิน ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดและหลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาในทุกกรณี
วิธีป้องกันตัวเองหลังจากที่ลุยน้ำท่วมหรือตากฝนมา ควรอาบน้ำ ล้างตัว ล้างมือให้สะอาด ใช้ผ้าเช็ดตัวที่สะอาด อย่าใช้ร่วมกับผู้อื่น ถ้าจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ แนะนำให้สวมใส่รองเท้าบู๊ตเพื่อป้องกันเท้าสัมผัสกับน้ำสกปรกโดยตรง แต่หากเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องเดินลุยน้ำจริง ๆ เมื่อถึงที่หมายแล้วให้รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสะอาด ล้างด้วยสบู่ แล้วเช็ดให้แห้ง หากมีบาดแผลให้ใช้ยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย ก็จะช่วยป้องกันได้อีกทาง ในส่วนของการรับประทานอาหาร ต้องเป็นอาหารปรุงสุก กินร้อนช้อนกลางล้างมือ หลีกเลี่ยงอาหารสดหรือดิบ หมั่นดูแลทำความสะอาดทั้งร่างกายและที่อยู่อาศัยเสมอ เพียงเท่านี้เราก็สามารถป้องกันโรคและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองมากยิ่งขึ้น