จราจร
ของหายได้คืน
POST & SHARE
จราจร
ของหาย
ได้คืน
POST &
SHARE
3240
Tweet
https://www.js100.com/en/site/post_share/view/81151
COPY
มูลนิธิเมาไม่ขับ เผย 10 สารพัดวิธีที่ "คนเมาเอาเปรียบเหยื่อ"
3240
Tweet
https://www.js100.com/en/site/post_share/view/81151
COPY
27 ธันวาคม 2562, 17:42น.
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากคนเมาแล้วขับยังมีให้เห็นบนท้องถนนทุกวัน แม้มีกฎหมายมากมายที่เกี่ยวข้อง แต่ในการบังคับใช้กฎหมายกลับยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยังมีความสูญเสียทางท้องถนนเกิดขึ้น ทางมูลนิธิเมาไม่ขับในฐานะองค์กรที่รณรงค์ด้านนี้โดยตรง นำเสนอข้อมูลอีกด้านจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้เคราะห์ร้ายที่ตกเป็น"เหยื่อ"ของคนเมาแล้วขับ กลับถูกเอาเปรียบมาโดยตลอด
1. เลี่ยงการตรวจแอลกอฮอล์
แม้จะมีกฎหมายแรงถึงขั้น"ปฏิเสธการเป่าเท่ากับเมา" รวมถึงมีคำสั่งจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ว่าพนักงานสอบสวนต้องตรวจแอลกอฮอล์ทุกครั้งในกรณีอุบัติเหตุที่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ในความเป็นจริงกลับยังมีหลายครั้งที่มองด้วยตาก็รู้ว่าคนขับเมา แต่กลับไม่ถูกตรวจแอลกอฮอล์ในทันที
2. ประวิงเวลาจนขาดอายุความ
"ยังอยู่ระหว่างการรักษาตัว" "ไม่สบาย"
"ติดธุระสำคัญ"
เป็นข้ออันดับต้นๆ ที่ผู้ก่อเหตุใช้ประวิงเวลา เพื่อรอให้คดีหมดอายุความ ในขณะที่เหยื่อ ต้องทนกับอาการบาดเจ็บ การสูญเสีย และบางคนถึงขั้นทุกข์ไปตลอดชีวิต
3. เสนอค่าเยียวยา
ฝ่ายผู้ก่อเหตุมักเสนอเงินค่าเยียวยาให้จำนวนหนึ่ง โดยแจ้งกับเหยื่อว่า
"ถ้าอยากได้มากกว่าที่เสนอ ก็ให้ไปฟ้องร้องต่อศาลเอาเอง"
ทำให้เหยื่อหรือญาติรู้สึกว่าดีกว่าไม่ได้อะไรเลย จนตัดสินใจยอมเสียเปรียบทั้งที่ตนเป็นฝ่ายถูกกระทำ
4. ให้เซ็นเอกสารโดยไม่มีข้อความใด ๆ
เกิดขึ้นจริงกับเหยื่อหลายคนที่อยู่ระหว่างนอนรักษาตัวจากอุบัติเหตุ มักมีฝ่ายทนายหรืออาจเป็นตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจเองที่เข้ามาพูดถึงเรื่องคดีความ และให้"เซ็นลอย" ซึ่งมักเป็นเอกสารเปล่าไม่มีเงื่อนไขใดเขียนไว้แต่แรก กว่าจะรักษาตัวหายและมาสู้คดีกลับกลายเป็นว่าได้เอกสารดังกล่าวถูกนำไปเติมข้อความในหลัง จนตนเองตกเป็นรองไปในที่สุด
5. วิ่งเต้นให้เป็นคดีประมาทร่วม เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หนึ่งในสิ่งที่เหยื่องงมากที่สุดหลังเกิดเหตุ คือจากที่คนเมาขับรถชนตนเองได้รับบาดเจ็บ แต่พอมาดูสำนวนคดีภายหลังกลับกลายเป็นว่า เหยื่อกลับตกเป็นผู้ต้องหาในฐานะประมาทร่วม ซึ่งทำให้รูปคดีนั้นเปลี่ยนไป กรณีดังกล่าวมักพบว่ามีความพยายามวิ่งเต้นกับพนักงานสอบสวนด้วย
6. ยอมรับข้อตกลงผ่อนชำระ สุดท้ายถูกเบี้ยว
มักมีการเจรจาให้ยอมทำข้อตกลงในการเยียวยาเหยื่อ ด้วยการขอผ่อนชำระให้เป็นรายเดือน แต่ถึงเวลาจริงกลับเบี้ยวไม่ผ่อนชำระให้ พอเวลาผ่านไปเหยื่อกลับไม่ได้อะไร แถมจะไปเรียกร้องในภายหลังก็ทำได้ยากลำบาก
7. พาผู้ใหญ่ที่มีหน้าตาในสังคมมาข่มขู่
เรื่องจริงจากเหยื่อคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ในช่วงแรกที่ตนถูกคนเมาแล้วขับชนทำให้ต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ในระหว่างนั้นมีข้าราชการ-นักการเมืองท้องถิ่นเข้ามาเยี่ยม ตนรู้สึกว่าผู้ใหญ่อาจเป็นห่วงตนจริงๆเพราะเป็นคนของพื้นที่ กว่าจะรู้ตัวอีกทีกลับกลายเป็นว่า สาเหตุที่มาเยี่ยมในครั้งนั้นคือการแสดงอำนาจให้เห็นว่าอย่าได้คิดสู้คดี ให้อาจถูกบังคับให้ยอมความในเวลาต่อมา
8. ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน เลี่ยงการบังคับคดี
ระหว่างที่มีการต่อสู้คดีกันในศาล จำเลยหรือผู้ก่อเหตุอาจใช้วิธียักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้กับบุคคลอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี เมื่อคดีถึงที่สุด แม้เหยื่อได้แต่คำพิพากษาชนะคดี แต่กลับไม่ได้ค่าชดใช้ เพราะผู้ก่อเหตุไม่มีทรัพย์สินให้ยึด
9. หลบหนีจนหมดอายุความ
ในระหว่างที่ผู้ก่อเหตุได้รับการประกันตัว กลับมีความพยายามหลบหนี เพื่อรอจนคดีหมดอายุความ สุดท้ายกลายเป็นเหยื่อที่ต้องทนทุกข์ทรมาน
10. ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ลงโทษสถานเบา
ทนายฝ่ายจำเลย มักยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ลงโทษสถานเบา รวมถึงขอให้รอลงอาญา โดยอ้างว่าเป็นความประมาทไม่ได้เจตนา เพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา 'พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน และฝนตกหนักบริเวณภาคใต้' ฉบับที่ 5
วันนี้, 22:03น.
...
ทรู คอร์ปอเรชั่น พลิกธุรกิจสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ รายงานกำไรสุทธิ ไตรมาสแรก 1.6 พันล้านบาท
วันนี้, 18:37น.
...
PEA เตือนภัยมิจฉาชีพอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่เปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า
วันนี้, 18:22น.
...
ข่าวทั้งหมด
X