แพร่ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีตำนานเล่าขานถึงความรุ่งเรืองมายาวนาน นอกจากแพร่จะเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยร่องรอยทางประวัติศาสตร์น่าเรียนรู้แล้ว ยังมีแหล่งธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ งดงามด้วยสายน้ำและผืนป่า ให้ไปเยือนได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย
อยู่ในตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ ๙ กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๒ ) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมืองแพร่ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๗๙-๑๘๘๑ ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) ดอยขุนลั๊วะอ้ายก้อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ พระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองศิลปะเชียงแสนสูง ๓๓ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๑๑ เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูน หุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง
สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้นบ้างว่าได้มาจากชื่อ ผ้าแพรชั้นดี ทอจากสิบสองปันนาและชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลั๊วะอ้ายก้อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่แห่ตุงหลวงในวันขึ้น ๙ ค่ำ – ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี
ตั้งอยู่ริมถนนเจริญเมือง อำเภอเมืองแพร่ ใกล้ศาลากลางจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นโดยรวมวัดโบราณ ๒ แห่ง เข้าด้วยกันคือ วัดพระบาทและวัดมิ่งเมือง ปูชนียวัตถุสำคัญคือของวัดคือ พระพุทธโกสัยศิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด พระเจดีย์มิ่งเมือง ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่ และรอยพระพุทธบาทจำลอง มีพระธาตุมิ่งเมืองเป็นสัญลักษณ์ วัดทั้งสองแห่งนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าเจ้าผู้ครองนครแพร่เป็นผู้สร้าง และวัดพระบาทน่าจะสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เมื่อปี พ.ศ. พิกัด
ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐ ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่าฯ สี่แยกพระนอนเหนือ) ใกล้วัดพงศ์สุนัน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยเจ้าพรหม (หลวงพงษ์พิบูลย์) และเจ้าสุนันตาวงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ช่างที่สร้างบ้านหลังนี้มาจากเมืองกวางตุ้ง ประเทศจีน และช่างไม้พื้นถิ่น ลักษณะเป็นบ้านไม้สักทรงปั้นหยาสองชั้นแบบยุโรปประยุกต์ เพดานสูงหลังคาสูง ฐานเป็นอิฐและซีเมนต์สูงจากพื้น ๑ เมตร หลังคาสองชั้น มีช่องระบายลมระหว่างชั้นที่สองเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ เนื่องจากบ้านหันหน้าเข้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จึงมีลมพัดเย็นในฤดูร้อน จุดเด่นของอาคารคือ ลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียงช่องลม ชายน้ำหน้าต่าง และประตู ที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะ ซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่เจ้าสุนันทา ซึ่งเกิดในปีแพะ ต่อมาได้มีการซ่อมแซมแต่ลวดลายแกะสลักยังคงเป็นของเดิม ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูลที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผา เอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารการซื้อขายทาส เอกสารการซื้อขายเพชร
บ้านวงศ์บุรีได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นปี ๒๕๓๖ ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์บ้านวงศ์บุรีเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่องและตีพิมพ์ในหนังสือต่าง ๆ เปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชมชาวไทยและชาวต่างประเทศคนละ ๓๐ บาท
อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๔ กิโลเมตร บนถนนยันตรกิจโกศล ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ สานแพร่-น่าน หมู่บ้านทุ่งโฮ้งเป็นชุมชนไทยพวนที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาจากเมืองเชียงขวางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบันนับเป็นแหล่งผลิตเสื้อหม้อห้อมที่มีชื่อเสียงของประเทศ
ตั้งอยู่บนถนนคุ้มเดิม หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ใน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเจ้าหลวงพิริยะชัยเทพวงศ์ ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแพร่องค์ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตูหน้าต่างทั้งหมด ๗๒ บาน งดงามด้วยลวดลายไม้ฉลุ ตัวอาคารก่ออิฐ ถือปูนทั้ง ๒ ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่รองรับฐานเสาทั้งหลัง ห้องกลางเป็นห้องทึบ แสงสว่างส่องเข้าไปไม่ได้ ใช้เป็นที่คุมขังทาสบริวารที่ทำผิดร้ายแรง ส่วนห้องทางปีกซ้าย และขวามีช่องพอให้แสงส่องเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้ที่มีความผิดขั้นลหุ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.