บุรีรัมย์ คือดินแดนภูเขาไฟเมืองไทย และเป็นแหล่งรวมอารยธรรมขอมโบราณ จึงมีความสำคัญในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ บุรีรัมย์ยังได้รับสมญานามว่าดินแดนปราสาทหิน อันมากมายไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีงานศิลปหัตถกรมลือเลื่องคือผ้าไหมและผ้ามัดหมี่นาโพธิ์ ปัจจุบันที่บุรีรัมย์มีสนามกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างสนามฟุตบอล และสนามแข่งรถ ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดีจากนักท่องเที่ยว ที่มักจะแวะไปถ่ายรูปคู่กับป้ายสนามกีฬาเป็นที่ระลึก
ปราสาทหินทรายสีชมพูที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิท เพื่อใช้เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ณ ปราสาทพนมรุ้งนี้ จะเกิดปรากฏการณ์อันน่ามหัศจรรย์ คือ ปรากฏการณ์พระอาทิตย์สาดส่องลอด 15 ช่องประตู โดยจะมีพระอาทิตย์ขึ้นเดือนเมษายนและเดือนกันยายน และพระอาทิตย์ตกเดือนมีนาคมและตุลาคม และจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จัดขึ้นในช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์แรกของเดือนเมษายน กิจกรรมในงาน ชมการแสดงแสง-เสียง “มหัศจรรย์พนมรุ้ง” ชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องบานประตู พิธีบวงสรวงพนมรุ้ง การสาธิตการวาดภาพปราสาทพนมรุ้ง การประกวดรำอัปสรา ตลาดนัดโบราณ และสินค้า OTOP
ปราสาทแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยังไม่ชัดเจนนักเนื่องด้วยยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด แต่ด้วยลักษณะของศิลปะในตัวปราสาทเองบ่งชี้ว่าเป็นศิลปะแบบบาปวน ซึ่งมีอายุในราว พ.ศ. 1550-1625 และมีศิลปะขอมแบบคลัง อายุในราว พ.ศ. 1508-1555 ปะปนอยู่ด้วย ความโดดเด่นของปราสาทแห่งนี้ คือ รูปปั้นพญานาคห้าเศียร ศีรษะเกลี้ยงไม่มีเครื่องประดับเหมือนพญานาคแห่งอื่นในกลุ่มปราสาทขอม และสระน้ำหักมุมประจำอยู่ทั้งสี่มุมในบริเวณปราสาท
แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ในอีสานใต้ ชมอุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและพันธุ์ไม้หายาก เช่น ไม้ตามฤดูกาล (ดอกกระเจียว ดอกกุหลาบ ดอกไฮเดรนเยียร์) ไม้ดึกดำบรรพ์ ไม้เขตร้อน และไม้เมืองหนาว และสัมผัสประสบการณ์ผจญภัยที่จำลองเอาสิ่งมหัศจรรย์ของโลกมาเป็นฐานกิจกรรมสุดตื่นเต้น เช่น โรยตัวข้ามน้ำจากหอไอเฟล ปีนกำแพงเมืองจีน ไต่สะพานเชือกทาวเวอร์บริดจ์
วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาและชีววิทยา เพราะเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟที่ยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน มีโบราณสถานกู่เขากระโดง เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และมี “พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์อยู่บนยอดเขา
ชุมชนบ้านเจริญสุขแห่งนี้ แต่เดิมนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากดินมีแร่ธาตุดีจากภูเขาไฟเก่า มีประโยชน์ในการเพาะปลูก ต่อมาชาวบ้านเจริญสุขยังคิดค้นวิธีการนำดินเหล่านี้มาใช้ย้อมผ้า จึงได้พัฒนาเป็นอาชีพหัตถกรรมย้อมผ้าศูนย์สาธิตผ้าภูเขาไฟ ชุมชนบ้านเจริญสุขจึงเป็นศูนย์สาธิตที่จัดทำผ้าย้อมดินภูเขาไฟอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้นำวัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ ทำให้ผ้าที่ย้อมได้ออกมามีสีสวยงามอย่างมีเอกลักษณ์ โดยมีกรรมวิธีการทำคือ นำผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมไปย้อมกับดินภูเขาไฟที่มอดแล้วดินภูเขาไฟเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญ