ชัยนาท เป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำหลายสายไหลพาดผ่าน ทำให้เมืองนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก อีกทั้งเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย จึงมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก มีชื่อเสียงและมีสินค้าด้านหัตถกรรม การจักสาน การปั้น การทอ การทำเครื่องเบญจรงค์ ที่มีฝีมือประณีต รูปแบบทันสมัย ราคาย่อมเยาอีกด้วย
ตั้งอยู่ที่ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ ตามตำนานเล่าว่าเคยมีต้นมะขามเก่าแก่อยู่หน้าวัดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อันกลายเป็นที่มาของชื่อวัด ที่สำคัญมี “หลวงปู่ศุข” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวชัยนาทและประชาชนทั่วไป โดยนิยมมาเช่าบูชาวัตถุมงคลเพื่อเป็นสิริมงคล ภายในวัดยังมีภาพเขียนฝีพระหัตถ์พุทธประวัติของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์พร้อมข้าราชบริพารร่วมเขียนบนผนังอุโบสถ
เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นแห่งแรกของประเทศไทยโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 บริเวณเขื่อนมีความสวยงามตามธรรมชาติช่วงเดือนมกราคมมีฝูงนกเป็ดน้ำนับหมื่นตัวมาอาศัยหากินอยู่ในแม่น้ำบริเวณเหนือเขื่อน เขื่อนนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการชลประทาน การทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลาง และอ่าวไทย และผลิตไฟฟ้าใช้ภายในจังหวัด
เดิมชื่อว่า “วัดพระธาตุ” หรือวัดหัวเมือง เป็นวัดโบราณคู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ โบราณสถานที่น่าสนใจภายในวัดและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระปรางค์กลีบมะเฟือง ก่ออิฐถือปูน 3 องค์ พระปรางค์มีลักษณะคล้ายกลีบมะเฟือง เป็นศิลปะสมัยลพบุรี พระพุทธรูปสำคัญภายในวัดได้แก่ หลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่อทองดำ พระพุทธสรรค์สิทธิ และหลวงพ่อหลักเมือง หรือ “หลวงพ่อหมอ” พระพุทธรูปเหล่านี้มีความเก่าแก่ มีอายุเก่าแก่กว่า 700 ปี
งานมหกรรมหุ่นฟางนกและของดีศรีท้องถิ่น โดยหุ่นฟางนกนับเป็นสัญลักษณ์ของงานฝีมือพื้นบ้านชัยนาท เกษตรกรนำฟางข้าวที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาประดิษฐ์เป็นหุ่นฟางนกในรูปแบบต่างๆประดับประดาตามถนน และนำมาสู่การจัด “งานมหกรรมหุ่นฟางนก” หนึ่งเดียวในโลก ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท