Severity: Notice
Message: Undefined offset: 77
Filename: news/detail.php
Line Number: 394
เชื่อว่ามีหลายคนที่มักจะเกิดความกังวลหรือกลัวการเข้าสังคม การไปพบปะผู้อื่น หรือต้องทำอะไรในที่สาธารณะ แต่หากกังวลมาก ๆ จนไม่กล้าทำอะไรเลย ไม่กล้าไปเรียน ไม่กล้าไม่ทำงานนั่นอาจมีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคกลัวการเข้าสังคมก็เป็นได้ แต่ทว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองหรือคนรอบบข้างเข้าข่ายป่วยเป็น “โรคกลัวการเข้าสังคม” ? ด้วยความห่วงใยจาก อ.พญ.เมธินี ศรีเฟื่องฟุ้ง ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยให้ลองสังเกตตัวเองรวมถึงคนรอบข้างได้
โรคกลัวการเข้าสังคม คืออะไร?
โรคกลัวการเข้าสังคม หรือ Social anxiety disorder คือ โรคที่ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความกลัวระดับมากถึงมากที่สุดในการที่จะเข้าสังคม หรือต้องทำอะไรต่อหน้าที่สาธารณะ ด้วยเหตุผลที่กลัวว่าจะแสดงพฤติกรรมขายหน้าออกมาจนเกิดความอับอาย โดยผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงอยู่เสมอ เช่น ยอมเป็นคนทำงานหนักเพื่อเลี่ยงการออกไปพูดพรีเซ็นต์หน้าชั้นเรียน และจะมีความกังวลมากกว่าคนปกติทั่วไป
เมื่อไหร่ที่เข้าข่ายว่าเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม?
เมื่อบุคคลนั้น ๆ มีความกังวลที่จะต้องเข้าสังคม ไปพบเจอ หรือทำอะไรที่สาธารณะติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6 เดือน ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน หรือบางคนต้องเสียหน้าที่การงานไปเลย ซึ่งหากใครสงสัยว่าตนเองเข้าข่ายป่วยด้วยโรคนี้ แนะนำให้เข้าพบจิตแพทย์ทันที อย่ากลัวหรือเขินอายเพื่อให้ได้การรักษาที่เหมาะสม ตอบโจทย์ โดยโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วให้ลองสังเกตุตัวเอง หรือคนรอบข้างดูว่าเข้าข่ายป่วยด้วยโรคกลัวการเข้าสังคม หรือ Social anxiety disorder ที่ว่านี้หรือไม่ ซึ่งหากเข้าข่ายอย่านิ่งนอนใจให้รีบพบจิตแพทย์โดยด่วน เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กลับมาอีกครั้ง ชีวิตก็จะมีความสุขขึ้นได้
ข้อมูล : Siriraj Channel