ชวนชม !ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต คืน 17- รุ่งเช้า 18 พ.ย.นี้

16 พฤศจิกายน 2564, 11:31น.


          เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ชวนชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต ในคืนวันที่ 17 - รุ่งเช้า 18 พฤศจิกายน 2564 อัตราการตก 10 ดวง/ชั่วโมง แต่แสงจันทร์ที่อาจจะรบกวนตลอดคืน เพราะในปีนี้ ตรงกับดวงจันทร์ข้างขึ้น 13 - 14 ค่ำ ดวงจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้าตั้งแต่หัวค่ำ จนถึงเวลาประมาณ 04:00 น. จึงไม่สามารถสังเกตการณ์ได้



           สำหรับฝนดาวตกลีโอนิดส์  เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle) ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหางตัดผ่านวงโคจรของโลก ทำให้เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านั้นเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการเผาไหม้จนเห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่าฝนท้องฟ้า ทิศทางวงโคจรของฝนดาวตกลีโอนิดส์สวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้างมาก โดยมีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จึงได้รับการขนานนามว่า “ ราชาแห่งฝนดาวตก ”



          นอกจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่จะได้ชมกันในเดือนนี้แล้ว ในกลางเดือนหน้า (ธันวาคม) ยังมีฝนดาวตกเจมินิส์ หรือ ฝนดาวตกคนคู่ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเช้ามืดของวันที่ 14 ธันวาคม 2564 แต่คืนนั้นก็มีแสงจันทร์รบกวนเช่นกัน แต่ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าประมาณหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 และจะสามารถสังเกตฝนดาวตกเจมินิดส์ได้หลังเวลา 01:30 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า



 



#ฝนดาวตก 



CR: NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวทั้งหมด

X