ทำความเข้าใจ 'อาวุธปราบทุจริตเลือกตั้ง' ใบเหลือง-ใบส้ม-ใบแดง-ใบดำ

12 พฤษภาคม 2566, 07:36น.


          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ต้องโปร่งใส ภายหลังการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสิ้นสุดลงจนถึงก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)พบเหตุทุจริตการเลือกตั้ง กกต. มีอำนาจพิจารณาดำเนินการสืบสวนไต่สวน และพิจารณาสั่งการ



          ทำความเข้าใจอาวุธปราบทุจริตเลือกตั้ง ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง ใบดำ



1.การให้ใบเหลือง



-ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง : หาก กกต.พบเหตุต้องสงสัย หรือพบการทุจริตก่อน หรือระหว่างการเลือกตั้ง ผลที่เกิด กกต.มีอำนาจสั่งระงับยับยั้งแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการเลือกตั้ง สั่งให้ดำเนินการเลือกตั้งใหม่ หรือ นับคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยหรือทุกหน่วยเลือกตั้งได้



-หลังประกาศผลการเลือกตั้ง : กกต.มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งมีการทุจริต ไม่ชัดว่าเป็นการกระทำของผู้ได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ ผลที่เกิด กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่สำหรับเขตเลือกตั้งนั้น



2.การให้ใบส้ม



-ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง: กกต.มีหลักฐานว่า มีผู้สมัครกระทำการทุจริตการเลือกตั้ง ผลที่เกิด กกต.ระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครที่ทำผิดไม่เกิน 1 ปี สั่งให้เลือกตั้งใหม่เฉพาะกรณีผู้กระทำผิดชนะการเลือกตั้ง



3.การให้ใบแดง



-หลังประกาศผลการเลือกตั้ง:มีหลักฐานควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครมีส่วนร่วมหรือกระทำทุจริตการเลือกตั้งให้ กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณา ผลที่เกิด เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครที่ทำผิด สั่งให้เลือกตั้งใหม่ได้



4.การให้ใบดำ



-หลังประกาศผลการเลือกตั้ง: กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาพิจารณา ผลที่เกิด ผู้ใดที่ถูกตัดสิทธิไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต



#เลือกตั้ง66



 



 

ข่าวทั้งหมด

X