แพลงก์ตอนบลูม! ดร.ธรณ์ เปิดข้อมูล ปรากฎการณ์ น้ำแดง ปลาขาดออกซิเจน ตายเกลื่อนหาด

22 มิถุนายน 2566, 16:36น.


          ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โพสต์ข้อมูลผ่านทางเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat แสดงให้เห็นภาพหาดทุ่งวัวแล่น ชุมพร มีปลาขึ้นมาตายจำนวนมาก พร้อมอธิบายว่า ภาพที่เห็นเป็นปรากฏการณ์ปกติ คนแถวนั้นเรียก “น้ำแดง” (ชื่อเฉพาะ) มักเกิดตอนต้นฤดูฝน เมื่อน้ำจืดลงทะเลเป็นจำนวนมาก พาธาตุอาหารลงทะเล สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรวดเร็ว เกิดแพลงก์ตอนบลูม



          สัปดาห์ก่อนคณะประมงไปสำรวจทะเลชุมพร/เรือปราบพอดี จึงมีภาพและข้อมูลมาให้





ภาพแรกคือ่าวทุ่งวัวแล่น น้ำตื้น เห็นน้ำสีเขียว เกิดปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม ทำให้ปลาขาดออกซิเจนพร้อมกันจำนวนมาก น้ำตื้นและร้อน ปลาหน้าพื้นทะเลบางส่วนจึงตาย ก่อนโดนพัดขึ้นมาบนหาด



ภาพสองเป็นที่ห่างฝั่ง บริเวณเรือปราบ  น้ำแบ่งเป็น 2 ชั้น น้ำใสอยู่ด้านบน แต่เรือปราบลึก 24 เมตร ปลาจึงพออยู่ได้ แม้อาจมีปลาน้อยกว่าปกติเนื่องจากน้ำร้อน ฯลฯ





          กลับมาที่ทุ่งวัวแล่น ตามข่าวบอกว่า ปีนี้ปลาตายเยอะกว่าปีก่อนๆ เกี่ยวกับโลกร้อนไหม ? คำตอบคืออาจเกี่ยวบ้าง เช่น น้ำร้อนทำให้ปลาตายง่ายขึ้น ฝนตกเยอะน้ำจืดลงทะเลเยอะ ฯลฯ แต่ผลกระทบจากโลกร้อนต้องศึกษาให้ถี่ถ้วน ด้วยข้อมูลตอนนี้ คงบอกว่าเมื่อโลกร้อนขึ้น “อาจ” ส่งผลกระทบต่อแพลงก์ตอนบลูมและปลาตาย ไม่เหมือนปะการังฟอกขาวที่เห็นชัดกว่าและอธิบายได้ตรงกว่า ไม่ควรเก็บปลามากิน แม้ไม่มีพิษ แต่ถ้าตายมานาน ไม่สด อาจติดเชื้อ ผลกระทบโลกร้อนต่อทะเลเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะการเร่งปรากฏการณ์เดิมให้แรงขึ้น เช่น ปะการังฟอกขาว แพลงก์ตอนบลูมภัยพิบัติเริ่มมองเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ แล้วครับ



 



CR:ภาพ Kantaphong thakoonjiranon



#คณะประมงเกษตรฯ



#ปตทสผ



#Oceanforlife



 



 

ข่าวทั้งหมด

X