วิศวกรรมสถานเตรียมสำรวจความเสียหายด้านโครงสร้าง หลังแผ่นดินไหวทางภาคเหนือ

06 พฤษภาคม 2557, 12:51น.


ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์หรือ  วสท. แถลงข่าวถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 6.3 ริกเตอร์ ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวานที่ผ่านมา และเตรียมส่งทีมวิศวรกรลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายโครงสร้างอาคารโดยเฉพาะอาคารโรงพยาบาลสถานที่ราชการ และบ้านเรือนประชาชน วันพรุ่งนี้


 


ด้านรศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อุปนายกและประธานอนุกรรมการสาขาวิศวกรีมปฐพี วสท.หลังจากการเกิดเแผ่นดินไหว 6.3 ที่อำเภอพาน จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2557 เตือนประชาชนและหน่วยงานราชการ ในพื้นที่ใกล้เคียง เฝ้าระวังเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง


แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น พื้นที่อ.พาน จ.เชียงราย เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดในพื้นที่กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา เป็นรอยเลื่อนมีพลัง รอยเลื่อนที่มีจุดกำเนิดแผ่นดินไหวตื้น 7 กม.ทำให้มีความรุนแรงสูง และสามารถสั่นไหวได้สูงถึง 6.6 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่มีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในประเทศไทยขนาดที่สูงที่สุด เท่าที่เคยมีเครื่องตรวจวัดได้ ประเทศไทยเคยเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดสูงสุดคือแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ที่เกิดที่ปลายอ่างเก็บน้ำ เขื่อนศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2526  ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารและสิ่งปลูกสร้างจะเกิดขึ้นได้มาก ในพื้นที่ที่อยู่ในรัศมี 30 กม. จากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว และอาคารที่ไม่ได้ออกแบบตามมาตรฐานการออกแบบเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว การเกิดทรายเหลว การพิบัติของลาดดิน และถนน เป็นต้น 


นอกจากนี้ รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า ควรเฝ้าระวังหลังจากเเผ่นดินไหวต่อไปอีกอย่างน้อย 72 ชั่วโมง


โดยไม่ควรอยู่อาศัยในอาคารที่มีความเสียหายรุนแรง หรือเสียหายปานกลาง โดยหากเสาและคานแตกร้าวผ่านปูนฉาบเข้าไปถึงเนื้อโครงสร้างเสาและคาน ถือว่าเสียหายรุนแรง เนื่องจากอาจเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมา ส่วนอาคารที่ปลูกสร้างอยู่บนพื้นที่ไหล่เขา ควรตรวจสอบความเสียหาย หรือการเคลื่อนตัวของฐานรากอาคารเป็นพิเศษ
 


 


โดยยังต้องเฝ้าระวังเขื่อนเเละอ่างเก็บนํ้าที่อยู่ในรัศมี 200 กม. จากจุดศูนย์กลางเเผ่นดินไหว โดยเฉพาะเขื่อนดิน เนื่องจากเเรงเเผ่นดินไหว อาจทําให้เกิดการรั่วซึมที่มองไม่เห็น เกิดคลื่น เเละจะค่อยๆ ขยายความรุนแรงของการรั่วซึมขี้น ต้องเร่งตรวจสภาพเขื่อนที่อยู่ในรัศมีดังกล่าว รวมทั้งอุปกรณ์วัดพฤติกรรมเขื่อน ทุกๆ 6 ชั่วโมง จนครบ 72 ชั่วโมง ถ้าความน่าสงสัยในความปลอดภัย ก็ให้เฝ้าระวังต่อไปตามสถานการณ์


 


ส่วนระหว่างวันที่ 5-7 พ.ค.57 จะมีฝนฟ้าคะนองในพื้นที่ภาคเหนือ ทําให้พื้นดินตามลาดไหล่เขาที่แตกจากเเผ่นดินไหว มีโอกาสจะพิบัติเพิ่มขึ้น เนื่องจากนํ้าฝนจะซึมลงสู่รอยเเตกเเละดันให้ดินถล่ม ขอให้ประชาชนผู้ที่อยู่ในพื้นที่สูง พื้นที่เชิวเขาเเละอยู่ในรัศมีจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว 50 กม. ตรวจสอบรอยเเยกรอยแตกใหม่บนลาดดินที่อาจเกิดจากแผ่นดินไหว หากมีรอยแตกที่ชัดเจน ขอให้หลีกเลี่ยงการอยู่อาศัยจนกว่าพายุฝนจะลดลง


 



ทั้งนี้ เฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกตามแนวรอยเลื่อนพะเยา อันได้เเก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา เเละลําปาง.


 


 


ผสข.ไลลา ลงสุวรรณ
ข่าวทั้งหมด

X