จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหว..รับมืออย่างไร'กรณีแผ่นดินไหวจ.เชียงราย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาฯ เป็นประธานศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ภาควิชาธรณีวิทยา และหัวหน้าหน่วยปฎิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า รอยเลื่อนพะเยาถือเป็นรอยเลื่อนนอกสายตานักธรณีวิทยา เพราะเป็นรอยเลื่อนบนหินแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยเลื่อนตามลำน้ำแม่ลาว จึงทำให้นักธรณีวิทยาไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เพราะรอยเลื่อนที่มีพลังส่วนใหญ่จะเกิดในตะกอนหรือหินตะกอนที่มีอายุน้อย ผิดกับรอยเลื่อนแม่จันที่ก กลุ่มนักธรณีวิทยาให้ความสนใจมาก นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังรอยเลื่อนใกล้เคียงหรืออยู่ในแนวเดียวกันกับรอยเลื่อนพะเยาที่จะมีการปรับตัวของดินใต้แผ่นเปลือกโลก จากการศึกษาและวิจัยข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทยของจุฬาฯ พบว่า ยังมีรอยเลื่อนนอกสายตาอีกจำนวนหนึ่ง และบางรอยเลื่อนไม่ได้ถูกบันทึกไว้ใน แผนที่ของกรมทรัพยากรธรณี เช่น รอยเลื่อนองครักษ์ใกล้ กทม.กับรอยเลื่อนถลาง ดังนั้นเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ ทำให้เกิดการตื่นตัวในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลรอยเลื่อนและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในเชิงลึก ด้าน รศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า หากสำรวจโครงสร้างตัวบ้าน อาคาร พบร้อยแตกร้าวของเสา คาน เป็นรอยแยกเกิน5มิลลิเมตร ไม่ควรพักอาศัย เหตุแผ่นดินไหวเชียงรายเกิดอัตราการสั่นไหวระดับพื้นดินรุนแรง ส่งผลโครงสร้างประเภทอิฐรับแรง เช่น โบราณสถาน เจดีย์และวัด รวมทั้งกำแพงอิฐที่ไม่ได้มาตราฐาน และยังกระตุ้นให้เกิดปรากฎการณ์ดินเหลวในชั้นดินทราย ส่งผลให้เกิดพังทลายของถนนและคันทางต่างๆ นอกจากนี้ จุฬาฯได้ส่งทีมนักวิชาการลงพื้นที่สำรวจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูล พร้อมให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วย
ไลลา