เปิดข้อมูล 'บอส' ใกล้ชิดกับนักการเมืองระดับ รมว.-รองนายกฯ-รมว.คลัง ติดตามเข้าข่ายโกงประชาชนหรือไม่

15 ตุลาคม 2567, 17:35น.


         นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจ "สายไหมต้องรอด" ออกมาเปิดเผยข้อมูลที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ว่ามีการจ่ายสินบนมหาศาลให้กับเจ้าหน้าที่รัฐขั้นระดับ รัฐมนตรีว่าการฯ ในรูปแบบการฟอกเงินผ่านสกุลเงินคริปโต USDT เพื่อไม่ให้สาวถึงตัวตนที่แท้จริง และอำพรางร่องรอยได้ โดยการแถลงข่าวครั้งนี้นายเอกภพ ระบุว่าเขาได้รับข้อมูลมาจากสายลับใกล้ชิดกับ "บอสพอล" ที่มาเปิดเผยเกี่ยวกับการโอนเงินคริปโตในรูปแบบของ USDT เพื่อจ่ายเป็นสินบนให้แก่ "เทวดา" หรือผู้ใหญ่ในรัฐบาล



          โดยผู้ที่ให้ข้อมูลได้ระบุว่าเครือข่ายของบอสดิไอคอนมีความใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ระดับสูง ซึ่งมีการใช้เงินสดแปลงเป็นสกุลเงินดิจิทัลอย่าง USDT เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบทางการเงิน และมีการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มจีนเทาที่รับแลกเงินดิจิทัลนี้เป็นปกติ นายเอกภพจึงขอให้ "บอสพอล" ออกมาเปิดเผยข้อมูลอย่างเร่งด่วนเพื่อความปลอดภัยของตนเอง



          นายเอกภพยังได้กล่าวถึง "เทวดา" ว่า หลังจากที่เป็นข่าวมากขึ้น เทวดาเริ่มส่งสัญญานไม่พอใจในตัวบอสพอล เนื่องจากมีความสงสัยว่าการสนทนาของพวกเขาอาจถูกบันทึกเสียงไว้ ส่งผลให้สถานการณ์ของบอสพอลเริ่มตกอยู่ในอันตราย และแนะนำให้บอสพอลนำทรัพย์สินที่ได้จากเงินคริปโตนี้ คืนให้กับประชาชนผู้เสียหายและเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยของตนเอง



          ขณะเดียวกัน วรัตน์พล วรัทย์วรกุลหรือ บอสพอล  ขอสื่อลบคลิป ภายใน 18 ต.ค. ไม่เช่นนั้นจะดำเนินคดี บอกรู้สึกผิดหลังมีการพาดพิง ‘นักการเมือง ส.’ ยัน ไม่เคยให้เงิน แค่แนวคิดให้มาเป็นที่ปรึกษาบริษัทฯ สุดท้ายไม่มีการว่าจ้าง ไม่มีโอนเงินเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า “ผมเองมานอนคิด แล้วรู้สึกว่าทำให้ ท่าน ส นั้นเสียหายอย่างมาก จึงควรต้องออกมาชี้แจง ผมขอกราบเท้าขอโทษ ท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ที่ทำให้ท่านเสียหายในการให้สัมภาษณ์ในรายการโหนกระแส  ผมต้องกราบขอโทษ ท่านอีกครั้ง ผมขอยืนยันไม่เคยโอนเงิน ไม่เคยให้เงิน หรือ สินทรัพย์ใดๆแก่ท่านเลย เพียงแต่ในช่วงเวลานั้นๆ จะติดต่อให้ท่านมาเป็นที่ปรึกษาบริษัท ก็เท่านั้น แต่ด้วยช่วงเวลาไม่ตรงกัน จึงไม่ได้เชิญท่านมา



          ดังนั้นผมจึงขอความกรุณาให้ทุกคน ทุกแพลตฟอร์ม ลบคลิปทั้งหมดที่ มิชอบด้วยกฏหมาย ภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2567 ก่อนเวลา 23.59 น  มิเช่นนั้นจะดำเนินคดีตามกฏหมาย เรื่องดักฟัง และ นำข้อมูลไปเผยแพร่ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท



          นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงวันที่ 15 ต.ค. 67ว่า กระทรวงการคลังจะเข้าไปดูกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ว่าผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 342 หรือไม่ รวมทั้งจะดูข้อกฎหมายตาม “พ.ร.ก.การกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน” ควบคู่กัน  โดยจะดูทั้งการโฆษณา หรือจ่ายผลตอบแทนสูงกว่าสถาบันการเงินหรือไม่ หรือการนำเงินบุคคลอื่นมาจ่ายหมุนเวียนกับผู้มากู้ยืม และกิจการที่ประกอบนั้นชอบด้วยกฎหมายและต้องเห็นว่าผลประโยชน์จากการประกอบกิจการมีมากเพียงพอที่จะนำมาจ่ายได้หรือไม่



          สำหรับ “พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527” ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เป็นก้าวสำคัญตั้งแต่ยุคนั้น ในการจัดการกับการฉ้อโกงการกู้ยืมเงินที่แพร่หลาย ซึ่งนับเป็นภัยต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างมากจึงมีการออกกฎหมายเพื่อป้องกันและจัดการกับการฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินในลักษณะที่เป็นแชร์ลูกโซ่หรือการระดมทุนผิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก



          กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการหลอกลวงประชาชนให้ร่วมลงทุนด้วยการล่อใจด้วยดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์สูงกว่าที่สามารถหามาได้จริง โดยกลุ่มผู้กระทำความผิดมักนำเงินจากผู้ร่วมลงทุนรายใหม่มาจ่ายผลประโยชน์ให้กับผู้ร่วมลงทุนรายเก่าในลักษณะที่ต่อเนื่อง และสุดท้ายมักทำให้ผู้ร่วมลงทุนไม่ได้รับเงินต้นคืน ส่งผลให้เกิดความเสียหายวงกว้าง โทษสูงสุดของกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า "บุคคลที่กระทำผิดตามกฎหมายนี้ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 บาทถึง 1,000,000 บาท หากยังฝ่าฝืนจะถูกปรับเพิ่มอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน"



 



#แชร์ลูกโซ่



#นักการเมืองคริปโต 



 

ข่าวทั้งหมด

X