พญ. จุไร วงศ์สวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุจส. 100 ถึง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไอกรน หลังจากมีเด็กนักเรียนป่วยจนต้องประกาศปิดเรียน 2 สัปดาห์ ว่า
โรคไอกรนมีมานานแล้ว มีวัคซีนฉีดตั้งแต่เด็กและมีการฉีดกระตุ้นเป็นระยะ จะแตกต่างจากไข้หวัด แต่จะไอนาน มีน้ำมูก เป็นได้ถึง 3 สัปดาห์ มีเทคนิคทางการแพทย์ใหม่ๆ ทำให้ตรวจพบเชื้อ แต่ก็กังวลกับเด็กเล็ก กับผู้ที่เป็นหอบหืด และคนที่ติดโควิด ปกติฉีดวัคซีนให้เด็ก ตั้งแต่ 2เดือน กระตุ้นขวบครึ่งและ 4 ขวบ แต่มีพบผู้ใหญ่เป็นด้วย แนะนำ ให้กระตุ้นวัคซีนเมื่อช่วงเข้าสู่วัยรุ่น อาจจะฉีดวัคซีน รวมก็ได้ คือไอกรน คอตีบ บาดทะยัก คุณภาพวัคซีน ดีอยู่แล้วเพียงแต่ปกติพอเริ่มโตไป ภูมิคุ้มกันลดต่ำลง อย่างเคสที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ทราบว่าอาการไม่รุนแรง
โรคไอกรน เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีลงมา กลุ่มที่มีโรคประจำตัว จะเสี่ยงมาก ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย ต้องทานยา 5 วัน เช่น บุคลากรทางการแพทย์ที่ไปดู คนในครอบครัว คนใกล้ชิด
สำหรับวัคซีน ต้องดูว่า ได้วัคซีนครบหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบก็จะต้องให้ไปรับวัคซีนให้ครบ วัคซีนมีหลายแบบ คุณหมอจะเป็นผู้แนะนำ ขอแนะนำผู้ปกครอง ให้เอาสมุดการฉีดวัคซีนมาดู ว่าได้รับวัคซีนครบไหม เช่นวัคซีนรวม ไอกรน คอตีบ บาดทะยัก การระบาดวิทยา เนื่องจากไอกรน ไอนาน ต้องตัดวงจรการระบาดเร็วๆ ถ้ามีเคส ต้องตามเหมือนกับการติดเชื้อโควิดเลย มาตรการเดียวกัน ไอกรนถ้าได้ทานยา อาการดีขึ้นค่อยไปโรงเรียน แนะนำว่าถ้าป่วยควรพักที่บ้าน โรงเรียนก็ควรคัดกรอง อยู่ห้องเรียน ห้องแอร์ ควรใส่แมส ป้องกัน รวมทั้งล้างมือบ่อยๆ ไอกรน ไอยาวนานกว่าโควิด ตอนแรกจะมีน้ำมูก ไอ ไข้ต่ำๆ หลังจากนั้นจะไอรุนแรงขึ้น การรักษาการป้องกัน หากอาการรุนแรง เข้ารพ.ต้องหาเชื้อให้ละเอียด แนะนำ ถ้าป่วยพักที่บ้าน ล้างมือบ่อยๆ กระตุ้นวัคซีน เด็กเล็กๆ ถ้าเป็นไอกรน มีโอกาสเสียชีวิตได้ จึงแนะนำให้วัคซีนแก่เด็ก ถ้าบุตรหลานได้รับวัคซีนครบ และกระตุ้นแล้ว ก็ไม่ต้องกังวล นอกจากเรื่องวัคซีนแล้ว ถ้าลูกหลานป่วย ก็ควรแยกพัก หยุดไม่ต้องไปโรงเรียนจนกว่าจะหาย
#ไอกรน
#กระตุ้นวัคซีน