กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ตามที่มีสื่อโซเชียล เผยแพร่ข้อมูล ว่ามีหิมะตกในเมืองไทย ขอชี้แจงและมาทำความเข้าใจเรื่องการเกิดและความต่างระหว่างน้ำค้างแข็ง กับหิมะ หลายคนยังเข้าใจผิด ในปัจจุบัน เป็นเพียงการเกิดปรากฏการณ์ น้ำค้างแข็ง เท่านั้น ไม่มีหิมะตก
หิมะ เป็นหยาดน้ำฟ้าชนิดหนึ่ง ตกจากเมฆฝน/ฝนฟ้าคะนอง (ตกจากฟ้าลงมายังพื้นดิน) ที่จะเป็นหิมะได้ ผิวพื้นจะต้องมีอากาศเย็น/หนาวอยู่ก่อน เมื่อหยดฝนที่ตกลงมาเสียดสีกับบรรยากาศรูปร่างจะเปลี่ยนเป็นรูปเหลี่ยม หรือรูปแฉก เมื่อตกลงมายังพื้นผิวที่มีอากาศหนาวเย็น ทำให้รูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง จึงเรียกว่า"หิมะ" แต่ถ้าเกิดในเขตร้อน (Tropic) พื้นผิวอากาศร้อน รูปร่างของหยดน้ำเดิมที่อยู่ในบรรยากาศอาจมีรูปเหลี่ยมหรือเป็นแฉก แต่พอตกลงมาใกล้ผิวพื้นที่ร้อนจึงเปลี่ยนรูปเป็นเม็ดฝน (ฝน) นั่นเอง
สถานการณ์ในไทย มีน้ำค้างแข็ง (Frost) ภาคเหนือ เรียกว่า เหมยขาบ ภาคอีสาน เรียกว่า แม่คะนิ้ง เกิดขึ้น เนื่องจาก อากาศชื้น มีไอน้ำมาก ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งอย่างรวดเร็ว ไอน้ำ เปลี่ยนเป็น ผลึกน้ำแข็ง โดยตรง เกาะตามขอบใบไม้ใบหญ้า
ส่วนน้ำค้างแข็งตัว (Frozen dew) เกิดขึ้น เนื่องจาก อากาศชื้น มีไอน้ำมาก ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าจุดน้ำค้าง ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นน้ำค้างอยู่บนใบไม้ใบหญ้า และถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างแข็งตัว เป็นก้อนหยดน้ำแข็ง
#น้ำค้างแข็ง
#หิมะ
Cr.ขอบคุณข้อมูล-ภาพ กรมอุตุนิยมวิทยา,สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)