ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของภาคอุตสาหกรรม(PMI)ของจีน เป็นตัวชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนม.ค.ลดมาอยู่ที่ 49.1 จาก 50.1 ในเดือนธ.ค.57 อ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 67 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์คือ 50.1 ส่วนดัชนี PMI ที่ไม่ใช่ภาคการผลิตอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจบริการและการก่อสร้าง ชะลอตัวมาอยู่ที่ 50.2 ในเดือนม.ค. จาก 52.2 ในเดือนธ.ค. 67
สำหรับดัชนี PMI ที่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ถึงภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวเลข 50 แสดงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ทางการจีนจะประกาศตัวเลข PMI ทางการในวันที่ 31 ม.ค.นี้
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เสนอแนะให้รัฐบาลจีน จัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม จากปีที่แล้ว โครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และปรับปรุงคุณภาพของสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจีนในระยะยาว แทนที่จะใช้มาตรการกระตุ้นค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนในระยะสั้น เช่น โครงการส่งเสริมการขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอื่นๆ ซึ่งอาจจะทำให้โรงงานเพิ่ม การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม จนกระทั่งล้นโรงงาน ขณะที่การบริโภคของครัวเรือนอ่อนแอ ทำให้เกิดแรงกดดันให้ผู้ประกอบการลดสินค้าหน้าโรงงานเพื่อระบายต็อกสินค้าของโรงงานด้วย
ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีน ซึ่งมูลค่า 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตตามเป้าหมายที่รัฐบาลจีนตั้งไว้ที่ร้อยละ 5 ในปีที่แล้ว(2567) แต่นักวิเคราะห์มองว่า เป็นลักษณะการเติบโตที่กระจุกอยู่ในบางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น การส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมเติบโตสูงกว่าตัวเลขค้าปลีก ขณะที่อัตราว่างงานยังคงอยู่ในอัตราที่สูงขณะเดียวกัน ผู้ผลิตบางรายของจีนเริ่มเคลื่อนย้ายสินค้าจากโรงงานยังจัดเก็บยังสต็อกสินค้าในต่างแดนมากขึ้น หลังประสบปัญหาอุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ ทั้งนี้ ประเทศจีนได้เปรียบดุลการค้าทั่วโลกเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว(2567)
#เศรษฐกิจจีน