ชวนชม 'ดาวเคีียงเดือน' (ดาวหัวใจสิงห์ เคียงคู่จันทร์เพ็ญ) ในวันมาฆบูชา

วันนี้, 13:37น.


          12 กุมภาพันธ์ 2568 วันนี้ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ‘มาฆบูชา’ โดยเป็นวันที่พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย  มาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งวันมาฆบูชานี้ เราทราบกันว่า เป็นวันที่พระภิกษุ 1250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์



           แต่เมื่อเงยหน้า มองไปบนท้องฟ้า จะเห็นดาวเคียงเดือน แต่มีรายละเอียดที่น่าสนใจ โดย เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เผยแพร่ ระบุว่า เมื่อดาวหัวใจสิงห์ (Regulus) ปรากฏเคียงคู่จันทร์เพ็ญ คราใด วันนั้นไซร้ เป็นวันมาฆบูชา ในคืนวันมาฆบูชาของทุกปี จะเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง ปรากฏเคียงคู่กับดาวฤกษ์สว่างประจำกลุ่มดาวสิงโตอยู่เสมอ ชื่อว่า “ดาวเรกูลัส” (Regulus) หรือ “ดาวหัวใจสิงห์” ซึ่งวันมาฆบูชาในปีนี้ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 จะสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงอยู่ห่างจากดาวเรกูลัสประมาณ 6 องศา



          บริเวณกลุ่มดาวสิงโต (Leo) มีกลุ่มดาวนักษัตรตามดาราศาสตร์อินเดียโบราณเป็น 3 กลุ่มดาว ได้แก่ มาฆะ บูรพผลคุณี และอุตรผลคุณี โดยในบางครั้งชื่อ "ดาวมาฆะ" (Maghā / मघा) ก็ใช้กับดาวเรกูลัส เกิดจากคนไทยสมัยก่อนใช้ดวงจันทร์กำหนดวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เมื่อถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ครั้งใด จะเห็นดาวฤกษ์สว่างปรากฏข้างดวงจันทร์เต็มดวงเสมอ นั่นก็คือ “ดาวเรกูลัส” ซึ่งหมายความว่า วันนั้น เป็น “วันมาฆบูชา”



          นอกจากนี้ กลุ่มดาวมาฆะ ยังเป็นที่มาของมาฆะของอินเดีย รวมถึงวันมาฆบูชา ซึ่งหมายถึงการถวายบูชาในวันเพ็ญของเดือนมาฆะนั่นเอง



 



#ดาวหัวใจสิงโต



#มาฆบูชา



CR:สถาบันวิจัยดาราศาสตร์

ข่าวทั้งหมด

X