ดีอีเผยผลการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ ระงับบัญชีม้ามากกว่า 1.5 ล้านบัญชี

14 กุมภาพันธ์ 2568, 20:41น.


          นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 1/2568 ได้มีการพิจารณาผลดำเนินการและมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ 6 เรื่องสำคัญ ที่มีผลการดำเนินงาน ถึง 31 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา โดยสรุปได้ดังนี้



          1. การปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์ เดือนมกราคม 2568 (ข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)



– การจับกุมคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมทุกประเภท มกราคม 2568 มีจำนวน 2,590 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.81 เทียบกับ การจับกุมเฉลี่ย 2,495 คนต่อเดือน ช่วงมกราคม-มีนาคม 2567



– การจับกุมคดีพนันออนไลน์ มกราคม 2568 มีจำนวน 1,083 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78 เทียบกับ การจับกุมเฉลี่ย 1,064 คนต่อเดือน ช่วงมกราคม-มีนาคม 2567



– การจับกุมคดีบัญชีม้า ซิมม้า และความผิดตาม พ.ร.ก.ฯ มกราคม 2568 มีจำนวน 195 ราย ลดลงร้อยละ 18.75 เทียบกับ การจับกุมเฉลี่ย 240 คนต่อเดือน ช่วงมกราคม-มีนาคม 2567



          2. การปิดโซเชียลมีเดีย เว็บผิดกฎหมาย และเว็บพนัน ปีงบประมาณ 2568 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2567–31 มกราคม 2568 ระยะเวลา 4 เดือน



– การปิดกั้นเว็บไซต์พนันออนไลน์ จำนวน 27,134 (URLs) หลอกลวงออนไลน์ 1,007 (URLs) เว็บไซต์ผิดกฎหมายอื่นๆ จำนวน 22,678 (URLs) รวมปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายแล้ว จำนวน 50,819 (URLs)



– การประสานแพลตฟอร์มเพื่อขอปิดกั้น เกี่ยวกับหลอกลวงออนไลน์ มีคำสั่งศาล จำนวนแจ้งขอการปิดกั้น 6,128 (URLs) ไม่มีคำสั่งศาล จำนวนแจ้งขอการปิดกั้น 17,689 (URLs) (เฉพาะในส่วนของกระทรวงดีอี)



          3. การแก้ปัญหาบัญชีม้า เร่งอายัด ตัดตอนการโอนเงิน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566-31 มกราคม 2568 มีดังนี้



– ระงับบัญชีต้องสงสัย รวมเป็นจำนวนกว่า 1,572,317 บัญชี (AOC จำนวน 317,317 บัญชี ธนาคาร จำนวน 1,255,000 บัญชี)



– ปปง. อายัดบัญชีไปแล้วกว่า 694,376 บัญชี (ณ วันที่ 11 ก.พ. 68 โดยเป็นจำนวนบัญชีที่ ปปง.อายัด รวมกับบัญชีต้องสงสัยที่ AOC ส่งให้ ปปง.ตรวจสอบและทำการอายัดบัญชี)



          4.การแก้ไขปัญหาซิมม้า และ ซิมม้าที่ผูกกับ Mobile banking ผลการดำเนินงานถึง 31 มกราคม 2568



– การกวาดล้างซิมม้าและซิมต้องสงสัย โดย สำนักงาน กสทช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยืนยันตัวตนและข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผลการดำเนินงาน มีดังนี้



(1) กลุ่มผู้ถือครองซิมการ์ด 101 เลขหมายขึ้นไป โดยมีเลขหมายที่เข้าข่าย 5,078,283 เลขหมาย มีผู้มายืนยันตัวตนแล้ว จำนวน 4,246,142 เลขหมาย จำนวนที่ถูกระงับ 832,141 เลขหมาย (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ก.พ. 68)



(2) กลุ่มผู้ถือครองซิมการ์ดตั้งแต่ 6-100 เลขหมาย ซึ่งมีเลขหมายที่เข้าข่าย 3,981,251 เลขหมาย มีผู้มายืนยันตัวตนแล้ว 2,385,311 เลขหมาย จำนวนที่ถูกระงับ 1,595,940 เลขหมาย (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ก.พ. 68)



– มาตรการยกระดับความปลอดภัย Mobile Banking ชื่อผู้ใช้โทรศัพท์มือถือตรงกับชื่อเปิดบัญชีธนาคาร เริ่มให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าข่าย จำนวน 3,238,971 ราย ต้องดำเนินการยืนยันตัวตน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 มีกำหนดภายใน 90 วัน จนถึงภายในวันที่ 30 เมษายน 2568 โดยธนาคารแจ้งเตือนผู้ที่เข้าข่ายยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารแล้ว จำนวน 1,836,636 ราย เหลืออีกจำนวน 1,402,335 ราย



          5. การดำเนินการเรื่องเสาโทรคมนาคม สายสัญญาณอินเทอร์เน็ต และสายโทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดน พื้นที่ 5 จุดชายแดนไทย-เมียนมา ในพื้นที่ จ.ตาก จ.กาญจนบุรี และจ.เชียงราย โดยระงับเสาสัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก จำนวน 24 ต้น อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี จำนวน 8 ต้น อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว จำนวน 10 ต้น



การตรวจสอบเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต พบการเชื่อมต่ออุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็น Fiber optic จากบ้านหลังหนึ่งข้ามไปประเทศเพื่อนบ้าน อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี จำนวน 1 กรณี พบการลักลอบสาย fiber optic อ.เมือง จ.กาญจนบุรี จำนวน 4 เส้น อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว จำนวน 1 เส้น



          6. มาตรการส่งดี (Dee-Delivery) การให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทาง (COD) จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ภายหลังจากการดำเนินมาตรการฯ ของผู้ให้บริการขนส่งจำนวน 9 ราย พบว่า สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น มีการส่งสินค้าเก็บเงินปลายทางเพิ่มมากขึ้น มีการเปิดตรวจสอบสินค้าก่อนชำระเงินเพิ่มขึ้น ในส่วนของการขอคืนสินค้า และขอคืนเงินพบว่ามีจำนวนลดลง



...



#อาชญากรรมออนไลน์



#กระทรวงดีอี

ข่าวทั้งหมด

X