สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมมือกับหลายหน่วยงาน พัฒนาโมเดลเมืองสุขภาวะ ผ่านกิจกรรม Active city forum "Activate city for healthier Life" ปลุกเมืองให้สุขภาพดี ด้วยเราทุกคน จัดวันที่ 21-23 มีนาคม 2568 ที่ห้อง Em Glass และ EmYard ห้าง Emsphere
รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายภาพประเทศไทย กล่าวว่า หลังโควิด-19 ประชาชนสุขภาพแย่ลง มีกิจกรรมที่แอคทีฟน้อย อยากให้คนไทยมีพื้นที่ที่ดีในการออกกำลังกายมากขึ้น กิจกรรมนี้จะกระตุ้นให้ทุกคนมีสุขภาวะที่ดี สุขภาพกายและใจดีขึ้น
นายยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิก หัวหน้าโครงการ we!park กล่าวว่า การพัฒนากายภาพของเมืองที่ดีส่งผลโดยตรงกับสุขภาพของประชาชน ซึ่งต้องบูรณาการองค์ความรู้หลายด้าน เช่น การออกแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกำหนดนโยบาย การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วน we!park ได้ร่วมมือกับ สสส. สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ เช่น สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ สวนสานสาธารณะ เขตคลองสาน สวนป่าสักวิภาวดี5 เขตจตุจักร และพื้นที่สวนสาธารณะอื่นในโครงการสวน 15 นาที ซึ่งสวน 15นาที คือ สวนใกล้บ้านที่คนทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุเดินมาออกกำลังกายได้ภายใน15นาที เป็นสวนขนาดเล็กเนื้อที่ประมาณ 600 ตารางเมตร
หลังจากจัดกิจกรรมนี้ทางเราต้องการroad map ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคนรุ่นใหม่ว่าต้องการเมืองในอนาคตอีก5ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร เพื่อนำเสนอสู่สาธารณะและภาคีเครือข่าย
นางสาวนิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก5) สสส.กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย เข่น โรคพาร์กินสัน โรคภูมิแพ้ตนเอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคกระดูกพรุน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 1.6 ล้านล้านบาท ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน สสส.จึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการสร้างพื้นที่สุขภาวะให้ครอบคลุมหลายมิติ เช่น การพัฒนาพื้นที่สาธารณะ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อกิจกรรมทางกายและส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่
การเพิ่มพื้นที่สุขภาวะหรือ Healthy Space เป็นหนึ่งในแนวทางลดความสูญเสียจากโรคไม่ติดต่อ โดยมุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน ซึ่ง Healthy Space ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สวนสาธารณะหรือพื้นที่ออกกำลังกายเท่านั้น แต่หมายถึงพื้นที่ที่คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้ชีวิตได้อย่างกระฉับกระเฉงและปลอดภัย เช่น คนที่ชอบเดินแถวบ้าน พื้นที่บริเวณบ้านก็สามารถเป็น Healthy Space ได้ ส่วนผู้สูงวัยที่ชอบออกกำลังกายและพบสังสรรค์กับเพื่อนที่สวนสาธารณะ พื้นที่สวนสาธารณะก็เป็น Healthy Space ของผู้สูงวัยได้เช่นกัน ดังนั้น สสส.จึงได้ริเริ่มสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ ผ่านความร่วมมือกับภาคเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนเจ้าของพื้นที่ พื้นที่ต้นแบบคือ จ.ยะลา ที่ได้ขับเคลื่อนเรื่อง Relean หรือ การเรียนรู้ใหม่ สร้างระบบนิเวศสุขภาวะเด็กและครอบครัวทางภาคใต้
นางสาว นิรมล ได้กล่าวเน้นย้ำว่า การเป็นเมืองสุขภาพดีในประเทศไทย เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะให้ทั่วถึงช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพิ่มความเป็นธรรม ลดภาะค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสุขภาวะที่ดีได้อย่างเท่าเทียมกัน งานกิจกรรม Active city forum ครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการทำให้ประเทศไทยสู่เป้าหมายของการเป็น Healthy City ที่แท้จริงเพราะการมีสุขภาพดีเป็นสิทธิและโอกาสของประชาชนทุกคน ไม่ใช่โชคชะตา และพื้นที่ดังกล่าวต้องปลอดภัย ไม่มีบุหรี่ไฟฟ้า ไม่มีเหล้า และยาเสพติด
ขอเชิญประชาชนทุกคนที่สนใจมาร่วมงานได้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างวันที่ 21-23 มีนาคม 2568 ที่ชั้นG ห้าง Emsphere จะได้รับองค์ความรู้ แนวคิด แนวทางการปรับตัวเพื่อให้รักสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันผ่านกิจกรรมต่างๆมากมาย เข่น การworkshop การเดิน การปั่นจักรยานที่สวนเบญจสิริ ชมศิลปะจากฝีมือของศิลปินแห่งชาติ มีการเสวนาระดับนานาชาติ
โดยเชิญวิทยากรจาก 6 ประเทศที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์และวิสัยทัศน์การพัฒนาเมือง จนเป็นเมืองต้นแบบในโลก ได้แก่ dpoe10 เดนมาร์ก ,rail corridor สิงคโปร์ , Miyashita park ญี่ปุ่น , the cancer reseach UK legacy Garden อังกฤษ ,george town มาเลเซียและสวนสาธารณะไทย ซึ่งนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส. มาร่วมงาน ในกิจกรรมดังกล่าวด้วย
สนใจเข้าชมกิจกรรม Active city forum ลงทะเบียนและอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook we!park
#สสส
#ปลุกเมืองให้สุขภาพดี