สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงาน ภาคบริการมีมูลค่า 11.4 ล้านล้านบาท (ณ ราคาปัจจุบัน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.57 ของ GDP ของไทย ขยายตัวร้อยละ 4.60 จากปี 2566
สาขาบริการที่มูลค่า GDP สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) การขายส่ง ขายปลีก และซ่อมแซมยานยนต์ (2) การเงินและการประกันภัย และ (3) การบริหารราชการการป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับ
สาขาบริการที่ขยายตัวสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (2) กิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือน และ (3) การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
รายได้รวมของภาคบริการมีมูลค่า 35,232,548 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59.05 ของรายได้รวมในทุกประเภทธุรกิจ โดยรายได้รวมของภาคบริการเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 6.89 เมื่อเทียบกับปี 2566
ภาคบริการมีกำไรสุทธิ 1,246,742 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.32 ของกำ ไรสุทธิในทุกประเภทธุรกิจโดยทุกสาขาบริการมีผลประกอบธุรกิจที่ได้กำไรสุทธิ ยกเว้นสาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนที่ขาดทุน 39,413.99 ล้านบาท
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้าของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการสินค้าส่งออกในหลายกลุ่มสินค้าที่ยังขยายตัวดี รวมถึงการนำเข้าสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีราคาส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เท่ากับ 110.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 0.8 (YoY) เป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางกลุ่มที่ปรับลดลงจากอุปทานส่วนเกิน และการแข่งขันทางด้านราคา สำหรับดัชนีราคานำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เท่ากับ 114.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 (YoY) ตามความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในการผลิต การลงทุน และการบริโภคของประเทศ
#ภาคบริการไทย
#เศรษฐกิจ