ชาวเมียนมากลุ่มหนึ่งร่วมการชุมนุม และชูแผ่นป้ายประท้วง ที่ด้านหน้าโรงแรมสถานที่จัดการประชุมสุดยอดผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล สำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ หรือบิมส์เทค (BIMSTEC) ในกรุงเทพฯ วันนี้ (4 เม.ย.68) กล่าวหาพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำคณะรัฐประหารของเมียนมา เป็นฆาตกรจากการใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงมาตั้งแต่ปี 2564
สำหรับสมาชิกบิมส์เทค ทั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่าการที่พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย เข้าร่วมการประชุมถือเป็นชัยชนะทางการทูตสำหรับรัฐบาลเมียนมา เนื่องจากการประชุมในครั้งนี้ฝ่าฝืนนโยบายของภูมิภาคที่งดเชิญผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าร่วมงานสำคัญ
เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 ยังมีเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในเมียนมา มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,145 ราย บาดเจ็บ 4,589 คนและสูญหาย 221 คน ขณะที่ผู้รอดชีวิตต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เช่น อาหาร น้ำดื่มและเต๊นท์พักแรมชั่วคราว โดยที่เมืองสะกาย ใกล้ศูนย์กลางของแผ่นดินไหว ร้อยละ 80 ของอาคารบ้านเรือนเสียหาย หลายประเทศเช่น ไทย จีน สหรัฐฯ อินเดียและสิงคโปร์ ทยอยขนสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปให้ความช่วยเหลือ ซึ่งสหประชาชาติคาดว่าประชาชนราว 3 ล้านคนอาจจะได้รับผลกระทบ
...
#เมียนมาประท้วง
#ประชุมBIMSTEC