สถาบันเหล็กและเหล้กกล้าแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ โต้กลับบริษัท ซิน เคอ หยวน ยืนยันเครื่องตรวจได้มาตรฐานสากล ระบุมีความสามารถในการทดสอบ โดยแถลงการณ์ระบุว่า
ตามที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยถูกพาดพิง จากการแถลงข่าวของบริษัท ชินเคอหยวน สตีล จำกัด ว่าเครื่องมือทดสอบสำหรับการวิเคราะห์ค่าปริมาณของธาตุโบรอนในผลิตภัณฑ์เหล็ก ไม่ได้ตามมาตรฐาน ไม่สามารถตรวจค่าต่ำกว่า 9 ppm (9 ส่วนในล้านส่วน) ได้ นั้น
นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ระบุว่า สถาบันเหล็กฯ ทำการวิเคราะห์ค่าปริมาณของธาตุโบรอนในผลิตภัณฑ์เหล็กด้วยเครื่องทดสอบส่วนผสมทางเคมีของโลหะ (Optical Emission Spectrometer; OES) ยัwอ Spectrolab รุ่น Model : Lavm12, Type : 76004140 S/N : 16002150 ซึ่งเป็นยี่ห้อชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และผลิตในประเทศเยอรมันโดยเครื่องทดสอบดังกล่าวมีขีดความสามารถในการทดสอบ (range) ที่สามารถทดสอบส่วนผสมของธาตุโบรอน (B) ได้ตั้งแต่ 0.0001% (1 ppm) ถึง 0.014% (140 ppm)ซึ่งครอบคลุมช่วงของปริมาณธาตุโบรอนตามข้อกำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต: เหล็กข้ออ้อย ที่กำหนดให้ปริมาณของธาตุโบรอนจะต้องไม่เกิน 0.0008% (8 ppm) จึงสามารถตรวจสอบปริมาณธาตุโบรอนได้อย่างแน่นอนสำหรับผลการตรวจสอบปริมาณธาตุโปรอนในผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต: เหล็กข้ออ้อยของ บริษัท ซินเคอหยวน สตีล จำกัด ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2567 พบว่าเหล็กข้ออ้อย ขนาด DB32 ชั้นคุณภาพSD5D50 มีปริมาณธาตุโบรอน 10 ppm ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน และเหล็กข้ออ้อย ขนาด DB25 ชั้นคุณภาพ SD40 มีปริปริมาณ ธาตุโบรอน 12 ppm ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน
ดังนั้นการอ้างว่าเครื่องทดสอบที่สถาบันเหล็กฯ ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 กับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นเครื่องทดสอบที่ไม่สามารถตรวจได้อย่างแม่นยำนั้นไม่เป็นความจริง อีกทั้งผลการตรวจสอบ ปริมาณธาตุโบรอนที่เกินมาตรฐานที่ 10 -12 ppm ก็อยู่ในช่วงการวัดที่เครื่องทดสอบทำงานได้อย่างแม่นยำ โดยไม่มีข้อถกเถียง
#สถาบันเหล็กฯ