พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายให้ พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ และ พล.ต.ต.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รอบ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568 แบ่งเป็น
1. ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรม 4 กลุ่ม
- คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ : จับกุม 9,183 คดี ผู้ต้องหา 12,329 คน
- คดีชีวิต ร่างกายและเพศ : จับกุม 29,213 คดีผู้ต้องหา 34,876 คน
- คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ : จับกุม 6,924 คดี ผู้ต้องหา 8,380 คน
- คดีที่น่าสนใจหรือรัฐเป็นผู้เสียหาย : จับกุม 263,731 คดี ผู้ต้องหา 275,514 คน
2. ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
2.1 มาตรการปราบปรามยาเสพติด
- ผลการปราบปรามยาเสพติด จับกุมผู้ต้องหา 123,910 คน , ข้อหาฟอกเงิน 146 คดี ของกลางยาบ้า 510,211,182 เม็ด , ไอซ์ 29,604.74 กิโลกรัม , เคตามีน 3,926.78 กิโลกรัม , เฮโรอีน 880.20 กิโลกรัม , ยาอี 118,230 เม็ด ยึดอายัดทรัพย์สิน 4,986,222,913 บาท
- มาตรการสกัดกั้นและปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนและพื้นที่ตอนในของประเทศ Seal Stop Safe ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2568 จับกุมข้อหาร้ายแรง 23,270 คดี ของกลางยาบ้าและยาอี รวม 200.64 ล้านเม็ด และไอซ์ , เคตามีน , เฮโรอีน รวม 11 ตัน ยึดอายัดทรัพย์สิน 1,414.66 ล้านบาท โดยมีการจับกุมและการยึดทรัพย์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19 - 79 เมื่อเทียบจากปี 2567
- ผลการจับกุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึง 3 เมษายน 2568 จับกุมผู้ต้องหา 2,260 คน ของกลาง 1,106,936 ชิ้น มูลค่า 218,499,239 บาท , การจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ารายใหญ่ หรือมูลค่าของกลาง 5 แสนบาทขึ้นไป และแก๊สหัวเราะ (รวมยอดของกรมศุลกากร) จำนวน 26 คดี ผู้ต้องหา 27 คน ของกลาง 1,297,111 ชิ้น มูลค่า 264,492,100 บาท , คดีฟอกเงิน 22 คดี ของกลาง 839,948 ชิ้น มูลค่าของกลาง 202,863,310 บาท , ระงับ/ปิดกั้น URL ที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า 11,106 URL และปิดกั้นเพจเฟซบุ๊กตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงเดือนมีนาคม 2568 จำนวน 1,687 เพจ
2.2 แก๊งคอลเซ็นเตอร์ จำนวนคดีที่รับแจ้งความในระบบแจ้งความออนไลน์ 126,400 คดี ออกหมายจับ 327 คดี มีผลการจับกุม 152 คดี พนักงานอัยการสั่งฟ้องคดี จำนวน 125 คดี ผลการจับกุมอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทุกประเภท 22,551 ราย บัญชีม้า 4,558 ราย การพนันออนไลน์ 35,174 ราย
การช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์ การปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และตั้งศูนย์ประสานงานระหว่างไทยและกัมพูชา อีกทั้งนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน (ศอ.ปชด.) ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบในส่วนของ ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการค้ามนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน (ฉก.88) ส่งผลให้สามารถปราบปรามขบวนการอาชญากรรมทางเทคโนโลยีข้ามชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางการกัมพูชาได้ควบคุมตัวคนไทย ผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมืองปอยเปต และส่งตัวกลับมายังประเทศไทย เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 ทางการกัมพูชาได้ควบคุมตัวคนไทยจำนวน 119 ราย ซึ่งผลการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพและพนักงานสอบสวน พบว่า ผู้ต้องหา 100 รายมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ อีก 15 รายอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน โดยศาลได้อนุมัติหมายจับรวมทั้งสิ้น 102 ราย รวมถึงหัวหน้าแก๊งชาวจีนจำนวน 2 ราย
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ครั้งที่ 1 ทางการกัมพูชาได้ควบคุมตัวคนไทยจำนวน 56 ราย ซึ่งผลการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพและพนักงานสอบสวน พบว่า ผู้ต้องหา 49 รายมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ อีก 17 รายอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน ในข้อหาสำคัญ ได้แก่ ร่วมกันเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, อั้งยี่, ซ่องโจร, ฉ้อโกงประชาชน และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ขบวนการดังกล่าวมีพฤติการณ์ในการหลอกลวงประชาชนรูปแบบต่าง ๆ เช่น การหลอกลงทุนเทรดหุ้น โรแมนซ์สแกม การพนันออนไลน์ และการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง
2.3 ค้ามนุษย์ อาวุธปืน อาวุธสงคราม หนี้นอกระบบ ผู้มีอิทธิพล คนต่างด้าวผิดกฎหมาย และอาชญากรรมข้ามชาติ
1) ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงป้องกันการค้ามนุษย์ 1,263 ครั้ง ดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และความผิดที่เกี่ยวข้อง จำนวน 116 คดี จับกุมผู้ต้องหา 150 คน , คัดกรอง (NRM) 15,819 คน พบข้อบ่งชี้อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 1,543 คน , ตรวจเรือประมง 1,128 ลำ จับกุมเรือประมง 19 คดี ผู้ต้องหา 20 คน , สถิติ CyberTip 142,015 เรื่อง และจับกุมคดีล่วงละเมิดเด็กทางอินเตอร์เน็ต 43 คดี
2) เปิดยุทธการกวาดล้างผู้มีอิทธิพล
- “CIB ขยี้อิทธิพล” เป้าหมายผู้มีอิทธิพล 47 เป้าหมาย กลุ่มแก๊งอาชญากรรม 74 เป้าหมาย จับกุม 109 คน ตรวจยึดยานพาหนะ 168 คัน อาวุธปืน 18 กระบอก เครื่องกระสุน 252 นัด , ยาเสพติด และอื่นๆ
- “ธรณีนี้ มีขื่อ มีแป” เป้าหมายตรวจค้น 667 จุด 89 หมายจับ จับกุม 218 คน ตรวจยึดรถยนต์ 64 คัน รถจักรยานยนต์ 250 คัน อาวุธปืน 266 กระบอก พร้อมกระสุน 5,743 นัด , ระเบิด และยาเสพติด
3) กำหนดพื้นที่แก้ไขปัญหาสถานการณ์ชายแดน หมู่บ้านเป้าหมายหลัก 4,639 หมู่บ้าน หมู่บ้านเป้าหมายรอง (เฝ้าระวัง) 21,669 หมู่บ้าน ดำเนินการผลักดันส่งกลับคนต่างด้าว 50,918 ราย ลงข้อมูลบัญชีบุคคลต้องห้าม 1,330 ราย
3. การดำเนินการที่สำคัญ
3.1 มาตรการ 7 ขั้นตอน ป้องกันคนต่างด้าวถูกหลอกลวงหรือเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์
สรุปผลการปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2568 มีการตั้งจุดตรวจ 17,908 จุด , ตรวจสอบยานพาหนะ 806,952 คัน , มีการตรวจสอบป้ายทะเบียนรถและใบหน้าบุคคล 22,828 ข้อมูล , ตรวจสอบสถานที่พัก สถานีขนส่ง จุดพัก ช่องทางธรรมชาติ ท่าข้ามต่าง ๆ 20,482 แห่ง จำนวน 24,537 ครั้ง , จับกุมคนต่างด้าวกระทำผิดกฎหมาย 1,962 ราย , ปฏิเสธการเข้าเมือง 2,367 ราย เพิกถอนการอนุญาต 202 ราย , ประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ ผ่านทุกช่องทาง , ดำเนินการทางปกครอง รวมจำนวน 7 ราย และการประสานงานความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การเดินทางข้ามแดนโดยผิดกฎหมายและการกระทำความผิดของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
3.2 แนวทางการบริหารจัดการคดีสำคัญต่าง ๆ
มีการบริหารจัดการคดีสำคัญต่างๆ อาทิ กรณีเพลิงไหม้รถนักเรียน มีการตั้ง ศปก.ส่วนหน้า บริหารเหตุการณ์ฉุกเฉิน พร้อมดำเนินคดีทุกข้อหากับคนขับและผู้ที่เกี่ยวข้อง , คดีไอคอนกรุ๊ป มีการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งความทั่วประเทศ , กรณีคดีห้างเพชรทองเคทูเอ็น (ตั๊ก-เบียร์) และห้างเพชรทองธาดาโกลด์ (ใบหนาด) มีการเปิดช่องทางสายด่วน 1599 เพื่อเป็นศูนย์รับแจ้งเหตุให้กับผู้เสียหาย , กรณีคดีนายแพทย์บุญ วนาสิน ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับผู้ต้องหา จำนวน 16 ราย จับกุมแล้ว 15 ราย คงเหลือ 1 ราย คือ นายแพทย์บุญฯ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหนังสือแจ้งไปยังองค์กรตำรวจสากล (Interpol) และได้ประกาศตำรวจสากลสีแดง (Red Notice) เรียบร้อยแล้ว
3.3 การบริหารจัดการภัยเหตุตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม และการรับมือภัยธรรมชาติ พายุฤดูร้อน ดำเนินการตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เน้นในการบริหารจัดการพื้นที่ ปิดล้อมที่เกิดเหตุ อพยพ ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ การอำนวยความสะดวกด้านการจราจร การนำส่งสายการแพทย์ การพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลและการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดี
4. การขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 15 ข้อ และนโยบายรัฐบาล เช่น โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ช่วยเหลือข้าราชการตำรวจที่เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ สวัสดิการบ้านพัก บ้านพักน่าอยู่ อาหารกลางวัน
5. สวัสดิการและความเป็นอยู่ มีการดูแลสวัสดิการในด้านต่างๆ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจและครอบครัว อาทิ เบี้ยเลี้ยง , การช่วยเหลือข้าราชการตำรวจที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ , สวัสดิการด้านอาหารกลางวันหน่วยในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ , การอบรม Money Management & Investment “ค่ายส่งสุขทางการเงิน เพื่อครอบครัวตำรวจไทย”
นอกจากนี้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝากเพิ่มเติมว่า ห้วงที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางคดีผู้เสียหายมีจำนวนมากที่จะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหา เพิ่มจำนวนพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ รวมถึงการบริหารจัดการคดีสำคัญ ช่วงการจัดงานเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ที่ตำรวจได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ จะต้องขับเคลื่อนและกำหนดมาตรการเข้มข้น การปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ยาเสพติด อาชญากรรมออนไลน์ ปัญหาคนต่างด้าวผิดกฎหมาย/นอมินี จะต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด ต่อเนื่อง จริงจัง เพื่อให้อาชญากรรมดังกล่าวลดลง และแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน ในบางโครงการเป็นโครงการระยะยาว จะต้องเร่งรัดให้สำเร็จผลและปรับแผนการปราบปรามอาชญากรรมให้ทันต่อสภาพอาชญากรรม และการสร้างวินัยจราจร เพื่อลดอุบัติเหตุและจะได้สรุปผลการดำเนินการในรายไตรมาสต่อไป
#ทำงานครบ6เดือน
#พลตำรวจเอกกิตติ์รัฐ
#ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ