ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดรายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย 2567 ระบุว่า ระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ สามารถสนับสนุนกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริงสถาบันการเงิน ทั้งธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และ สหกรณ์ออมทรัพย์ ท่ามกลางแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ และภาคการเงินที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายใน และนอกประเทศ ทั้งในเรื่องของนโยบายการค้า และนโยบายภาษีของประเทศต่างๆ ปัญหาเชิงโครงสร้างของบางภาคธุรกิจ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมา และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินในระยะข้างหน้า ได้แก่
1.ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เปราะบาง และอ่อนไหวต่อทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกประเทศ จากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก รวมถึงบางภาคธุรกิจที่ยังฟื้นตัวช้า มีปัญหาเชิงโครงสร้าง และเผชิญกับการแข่งขันจากจีน
2.ภาวะการเงินที่อาจตึงตัวมากขึ้น และส่งผลต่อสภาพคล่องของธุรกิจ และครัวเรือน รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจระยะต่อไป โดยปี 2567 ภาวะการเงินมีความตึงตัวขึ้นสะท้อนจากสินเชื่อที่ขยายตัวระดับต่ำ และการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนที่หดตัว
3.บริษัทขนาดใหญ่บางรายก่อหนี้ระดับสูง (HLLCs) และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น แม้บริษัทขนาดใหญ่โดยรวมจะมีฐานะการเงินดี ซึ่งระดับหนี้ที่สูงโดยเปรียบเทียบของ HLLCs เกิดจากสถาบันการเงิน และนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการชําระหนี้ของ HLLCs ที่ส่วนใหญ่มีผลการดําเนินงานดี จึงยังไม่ส่งผลต่อเสถียรภาพในระยะสั้น
4.ฐานะการเงินของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์บางรายที่ได้รับผลกระทบเพิ่มจากแผ่นดินไหวล่าสุดหลังจากภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวต่อเนื่อง และฟื้นตัวช้าจากปี 2567 และจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และอุปสงค์อาคารชุดระยะสั้นทําให้ developer บางรายที่เน้นพัฒนาอาคารชุดเป็นหลักอาจเผชิญความเสี่ยงด้านชื่อเสียง และการระบายอุปทานคงค้าง
...
#เศรษฐกิจการเงิน
#ธนาคารแห่งประเทศไทย