สถานการณ์สงครามการค้าที่รุนแรงขึ้นในยุคทรัมป์ 2.0 ล่าสุ ดสหรัฐประกาศมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (reciprocal tariffs) ซึ่งไทยถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 36 นายลวรณ แสงสนิท ปลัด
ขณะนี้
การเจรจาการค้าระหว่างไทยและสหรัฐว่า ไทยไม่ใช่คู่ขัดแย้งโดยตรงกับสหรัฐ โดยไทยเป็นประเทศเล็กแน่นอนว่ามหาอํานาจมีปัญหากันประเทศเล็กต้องได้รับผลกระทบ จะมากจะน้อยขึ้นกับการเตรียมการรับมือ โดยการขาดดุลทางการค้านั้นเก็บมาเป็นหัวข้อในการเจรจาได้ แต่เชื่อว่าแต่ละประเทศมีวิธีในการรับมือที่แตกต่างกันไป เตรียมความพร้อมมาเยอะครับ แต่ถ้าโจทย์ไม่นิ่ง ไม่มีประโยชน์ในการไปเจรจาเลย เพราะว่าตอนนี้ในแต่ละวันก็ไม่เหมือนกัน ไม่รู้จะเอาคําตอบอะไรยังไง แต่เมื่อไรก็ตามที่โจทย์นิ่งแล้วชัดแล้วว่าความต้องการที่แท้จริงของทางอเมริกาคืออะไร ผมคิดว่าเราพร้อมครับขอให้โจทย์ชัดๆในกระเป๋าของทีมเจรจาจะมีสิ่งที่เรานำไปพูดคุยกับอเมริกาได้”
สำหรับแผนงานที่มีการเตรียมไว้รองรับคือ การปรับโครงสร้างภาคการเกษตรครับโดยเชื่อว่าการใช้เงินก็คงจะวิ่งไปที่การลงทุนการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเป็นโจทย์ที่รัฐบาลเคยพูดถึงว่าจะต้องทำในเรื่องไม่ท่วมไม่แล้งเพราะที่ผ่านมานั้นมีปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในปีเดียวกันซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น มีสินค้าหลายหลายตัวที่นําเข้าจากสหรัฐได้ โดยไม่กระทบสิ่งที่เป็นอยู่ในไทย ในทางตรงข้ามอาจเพิ่มศักยภาพการนําเข้าจากสหรัฐมาแปรรูปและส่งออกได้มากขึ้น หรือถ้าเกิดเขามองว่าเราต้องการเป็นหุ้นส่วนเป็นพันธมิตรที่มากกว่านี้ ก็อาจเป็นการสนับสนุนธุรกิจไทยไปลงทุนในสหรัฐฯ มีบางธุรกิจที่เราก็สนับสนุนไปลงทุนในสหรัฐฯได้เช่นกัน
ส่วนการกู้เงินหรือก่อหนี้เพิ่มเติม หลายหลายคนกังวลว่ารัฐบาลจะกู้เงินเพิ่ม แล้วจะทําอย่างไรกับเพดานหนี้สาธารณะ นายลวรณ อธิบายว่า ในส่วนของข้อกังวลว่าการกู้เงินเพิ่มจะส่งผลต่อฐานะการคลังประเทศ ในเรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจว่าการกู้เงินไม่ใช่เรื่องน่ากังวล สิ่งสําคัญคือต้องดูว่า กู้แล้วไปทำอะไร และจะใช้คืนเงินคู่กันได้อย่างไร อันนี้คือสิ่งที่สําคัญ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธุรกิจหลายหลายอย่างในประเทศนี้โตด้วยสินเชื่อด้วยเงินกู้ แม้ว่าอาจจะมีเงินสดเยอะมาก โดยการกู้เงินไปลงทุนแล้วทำให้ธุรกิจโตได้ก็ถือว่าเป็นผลดี รัฐบาลก็เหมือนกันจุดสําคัญคือต้องรู้ว่าถ้าไปกู้เงินมาแล้วต้องการใช้ในโครงการอะไรแล้วก่อให้เกิดความคุ้มค่าผลประโยชน์ในอนาคต และก็มีรายได้กลับมาคืนเงินกู้ได้
สำหรับระดับหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือเสมอไป ปัจจุบันมีหลายประเทศเพดานหนี้สาธารณะสูง แต่ว่าเขาไม่ได้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือเพราะว่ามีการลงทุนและเศรษฐกิจโตได้ สามารถชำระหนี้ได้
ส่วนการขยายเพดานหนี้สาธารณะเกิน 70% นั้นก็ทำได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เพราะการบริหารบางสถานการณ์ต้องมีความยืดหยุ่น หากจำเป็นต้องขยายเพื่อรองรับวิกฤติก็ขยายได้ เหมือนช่วงโควิด-19 ที่เรามีการขยายเพดานหนี้สาธารณะจากไม่เกิน 60% เป็นไม่เกิน 70% เพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น
สำหรับวงเงินที่พูดกันอยู่คือการกู้เงินเพิ่ม 5 แสนล้านบาท คือ หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นแค่ร้อยละ 3หนี้สาธารณะก็ยังไม่ได้ทะลุร้อยละ 70 แต่หากกู้เงินเพิ่มแม้ว่าหนี้สาธารณะยังไม่เกินร้อยละ 70 แต่ต้องมีคำอธิบายให้ประชาชนและอธิบายให้รัฐสภาเข้าใจความจำเป็น
ส่วนจะออกเป็น พ.ร.บ.หรือ พ.ร.ก.นั้นมองว่าทำได้ทั้ง 2 รูปแบบ ขึ้นกับรัฐบาลจะเลือกรูปแบบใด โดยการออก พ.ร.ก.กู้เงินช่วงโควิด 2 ฉบับก็ออกแล้วไปรายงานให้สภาฯรับทราบ
CR:ขอบคุณกรุงเทพธุรกิจ
#สงครามการค้า
#เศรษฐกิจไทย