การบูรณาการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาบริเวณวัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า น้ำในพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ รองรับน้ำที่ไหลลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท โดยกำหนดพื้นที่น้ำท่วมทั้งสองฝั่งของแม่เจ้าพระยาไว้ 2ชั้น คือ ชั้นตลิ่งน้ำ ที่สามารถระบายน้ำได้ไม่เกิน2,500ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และชั้นคันคลองที่ระบายน้ำได้ห้ามเกิน 2,800ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ส่วนการบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทานมีการเฝ้าระวังมาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ ที่อยู่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อน้ำจากจังหวัดนครสวรรค์มีมากถึง2,000ลูกบาศก์เมตรแล้ว ก็จะเริ่มส่งสัญญาณลงมาที่จังหวัดอ่างก่อน3-4วัน ถ้าน้ำที่มาถึงจังหวัดอ่างทองแล้ว มีระดับปริมานมากถึง2,500ลูกบาศก์เมตร ผู้ที่อยู่ในพื้นที่นอกคันกั้นจะต้องเข้าใจว่าเป็นพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังปัญหาน้ำท่วมด้วย ดังนั้นสิ่งปลูกสร้างบริเวณดังกล่าวจะต้องมีลักษณะ สูง โปร่ง น้ำสามารถไหลผ่านได้ เช่น บ้านควรมีใต้ถุนไม่ปิดทึบ สะพานข้ามคลองต้องสูงโปร่ง และไม่ควรสร้างสิ่งปลูกสร้างแบบถาวรเพิ่มเติมจากเดิมขึ้นมาอีก ซึ่งในส่วนนี้กรมโยธาธิการและผังเมืองจะเป็นผู้รับผิดชอบ เข้าไปทำความเข้าใจประชาชนหากไม่สามารถป้องกันได้ก็ต้องปล่อยน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าวได้เนื่องจากการเป็นพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ แต่ต้องพยายามป้องกันไม่ให้ล้นเข้าไปในพื้นที่คันกั้นน้ำเพราะจะสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ ขณะเดียวกันอาจส่งผลกระทบต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ เนื่องจากสามารถรองรับน้ำได้เพียง 800 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
สำหรับคันป้องกันน้ำท่วมต่างๆหากมีการตกตะกอนมาก กรมเจ้าท่า จะเป็นผู้รับผิดชอบขุดลอกตะกอนดังกล่าวเอง เพื่อสามารถระบายน้ำได้ตามแผนที่วางไว้
ผสข. ธนดา เฉลิมวันเพ็ญ