นักเรียนไทยถูกเพื่อนแกล้ง 6 แสนคนต่อปี กรมสุขภาพจิตแนะวิธีรับมือ เริ่มต้นที่พ่อแม่

11 ตุลาคม 2561, 19:00น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 75

Filename: news/detail.php

Line Number: 400


        จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่งเผยแพร่คลิป นักเรียนรุ่นพี่ชั้น ม.2 รุมแกล้งเด็กชั้น ป.4 ที่มีอาการออทิสติก ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในโลกออนไลน์ถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้น เมื่อดูจากข้อมูลของกรมสุขจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่เปิดเผยเมื่อไม่นานนี้ พบว่า มีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษามากถึง 6 แสนต่อปี เป็นรองแค่ญี่ปุ่น หรือกล่าวอีกอย่าง คือ มีเด็กไทยถูกเพื่อนรังแกสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีจำนวนมากถึงร้อยละ 45 ที่ระบุว่า ตนเคยถูกกลั่นแกล้งผ่านโลกออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นถึง 4 เท่า



        โดยเด็กที่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงจากการถูกรังแก ได้แก่ เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการช้า เด็กพิการ กลุ่มเพศทางเลือก เด็กที่ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น สมาธิสั้น และกลุ่มเด็กที่ครอบครัวมีการใช้ความรุนแรง ซึ่งเด็กที่เจอปัญหาดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า ไม่อยากไปโรงเรียน มีปัญหาด้านการเข้าสังคมไปจนโต และหากถูกกดดันรุนแรงมาก ๆ เข้าก็จะนำไปสู่การทำร้ายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น อาจทำร้ายตัวเอง หรือรุนแรงถึงฆ่าตัวตาย ขณะเดียวกันเด็กที่ชอบรังแกคนอื่นก็จะติดเป็นนิสัย มีบุคลิกภาพก้าวร้าว ชอบใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา อาจกลายเป็นอันธพาล และอาชญากรในที่สุด ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสังคมในระยะยาว



        ทั้งนี้ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย ได้เคยแนะ 5 วิธีป้องกันลูกจากการถูกรังแก ไว้ดังนี้

        1. ชวนลูกพูดคุยถึงการถูกรังแก อาจเล่าประสบการณ์การถูกรังแกของคนในครอบครัวให้เด็กฟัง เพื่อให้เด็กเข้าใจว่าเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และหากเด็กเปิดใจเล่าให้ฟัง ผู้ปกครองควรชื่นชมในความกล้าหาญ ให้กำลังใจเด็ก พร้อมปรึกษากับคุณครูที่โรงเรียนเพื่อหาวิธีการรับมือ

        2. กำจัดตัวล่อของการถูกรังแก เช่น หากเด็กถูกข่มขู่เรียกเงินค่าอาหารกลางวันหรือของใช้ส่วนตัว ก็ให้เด็กนำข้าวกล่องไปทาน หรืองดให้เด็กพกของมีค่าไปโรงเรียน เป็นต้น

        3. ให้ทำกิจกรรมโดยมีเพื่อนอยู่ด้วย อย่างน้อย 2 คนขึ้นไป ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกรังแกได้น้อยกว่าการอยู่คนเดียว

        4. ฝึกการแสดงออกทางอารมณ์และดำเนินชีวิตเป็นปกติ หากเด็กไม่แสดงอารมณ์หรือปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการกระทำนั้น ๆ แค่บอกผู้รังแกว่าให้หยุดพฤติกรรม แล้วเดินห่างออกมา ถ้าเด็กสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ไม่แสดงอาการ ก็จะลดแรงจูงใจในการถูกรังแกได้

        5. อย่าต่อสู้ด้วยตัวเองตามลำพัง พ่อแม่ควรพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็กที่เป็นผู้รังแก โดยควรมีคุณครูหรือนักจิตวิทยาโรงเรียนเข้าร่วมพูดคุยด้วยเพื่อช่วยกันรับมือกับปัญหา



        สำหรับเด็กที่ชอบรังแกเพื่อน พ่อแม่อาจสอนเด็กให้รู้ว่าการรังแกคนอื่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว และสังคมภายนอก หรือมีการตั้งกฎเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กจะถูกลงโทษ เช่น งดใช้คอมพิวเตอร์ หรือ งดขนมที่เด็กชอบ รวมถึงชมเชยหรือให้รางวัล เมื่อเด็กพฤติกรรมดี และที่สำคัญ คือ ผู้ปกครองจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อหน้าเขา เพราะจะเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ควรแสดงให้เด็กเห็นว่าการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

        ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

        ภาพจาก : pidee.cl , kavlnoar.org , scarymommy , strathcona.ca

ข่าวทั้งหมด

X