เหตุใด ดอกหอมไก๋ หรือ "คำมอกหลวง" ถึงนิยมเก็บไปบูชาพระ ?? ที่นี่มีคำตอบ

29 กันยายน 2563, 15:48น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 86

Filename: news/detail.php

Line Number: 400



ใครเคยเก็บดอก "คำมอกหลวง" ถวายพระหรือบูชาพระเจดีย์บ้าง..? คนภาคเหนือบางคนอาจจะเคย และรู้จักต้นคำมอกหลวง

พันธุ์ไม้งามนามเป็นมงคล ดอกก็สีมงคล เหลืองทองสวย ส่งกลิ่นหอมเย็นๆ ชื่อภาษาเหนือ...

- "คำ" หมายถึง สีเหลืองทอง มอก ก็คือดอก

- "หลวง" หมายถึง ใหญ่



"คำมอกหลวง" เป็นไม้พันธุ์ไทยแท้หายาก พบครั้งแรกตั้งแต่ยังเป็นสยามประเทศ ที่ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวต่างประเทศ จึงเรียกชื่อตามพื้นที่พบว่า(Gardenia *Sootepensis* Hutch.)เป็นไม้วงศ์พุด(Rubiaceae)พบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ก็ปลูกได้ทั่วทุกภาค

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่าGolden Gardenia ชื่อเรียกท้องถิ่น เช่นคำมอกช้าง หอมไก๋ ไข่เน่า(อีสาน) ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง7-15 เมตรเอง ทรงต้นโปร่ง บ้านใครพอมีพื้นที่สักนิดก็ปลูกได้ ช่วงออกดอกราวเดือนมีนาคม ไปถึงพฤษภาคม ต้นจะผลัดใบ เหลือดอกออกเดี่ยวๆ บานเต็มต้น มี 5 กลีบ แรกบานสีดอกจะขาวหน่อยๆ แล้วค่อยๆเหลืองเข้ม บานสัก2-3 วันก็จะร่วง แต่ยังหอมอยู่ คนสมัยก่อนจึงนิยมเก็บไปบูชาพระ จะได้อานิสงส์การบูชา



อยากชวนปลูกคำมอกหลวงค่ะ เป็นไม้มงคล และยังได้ช่วยอนุรักษ์ไม้ถิ่นไทยหายากเอาไว้ด้วยนะคะ





CR :ภาพและข้อมูล ดร.วีระชัย ณ นคร



   อ่านบทความสนุกๆเพิ่มเติมได้ที่ js100funparty




 

ข่าวทั้งหมด

X