รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Thira Woratanara ระบุว่า ธรรมชาติของการติดเชื้อโควิด-19 แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าคนทุกคนจะติดแล้วใช้เวลาฟักตัวเท่ากันราว 4-5 วันเสมอไป แต่ตัวเลข 4-5 วันนี้คือค่ามัธยฐาน แปลว่า ร้อยละ 50 จะใช้เวลาประมาณนี้ แต่ที่เหลือจะมากกว่านี้ ดังนั้นการนำเข้าระบบกักตัว 14 วันจึงสำคัญที่สุด เพราะการแยงจมูกตรวจหาสารพันธุกรรมสองครั้งระหว่าง 14 วัน ก็ยังมีโอกาสหลุดได้ราวร้อยละ 5 หากเริ่มรับเชื้อมา ณ วันที่ 0 และมีระยะฟักตัวตามค่ามัธยฐาน แต่หากมีระยะฟักตัวนานกว่านั้น ก็อาจมีโอกาสที่จะหลุดจากการตรวจมากขึ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัส และลักษณะผู้ป่วยว่าเป็นประเภทไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการรุนแรง ซึ่งอาจทำให้หลุดจากการตรวจไปในครั้งแรก เหลือเพียงครั้งที่สอง จนอาจทำให้โอกาสเกิดผลลบปลอมมากขึ้นไปถึงร้อยละ 13 ได้
นอกจากนี้จากข้อมูลที่เราเห็นกันมา จำนวนคนไม่น้อยที่มาในระบบกักตัว 14 วัน แล้วตรวจพบในช่วงวันที่ 12-13 เหล่านี้คือสิ่งที่ตอกย้ำว่า อะไรควร อะไรไม่ควรทำ
CR: Thira Woratanara