นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวว่า พอใจภาพรวมการหารือในวันนี้ ซึ่งยังยึดตามกรอบเวลาที่ กกต.เสนอให้พรรคการเมืองพิจารณาคือวันที่ 20 ก.ค. นอกจากนี้ยังกล่าวว่า กกต.ยังไม่ได้ระบุวันนัดหมายหารือกับรัฐบาล แต่เดิมมีการกำหนดกรอบในช่วงระหว่างวันที่23-28เม.ย. ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจะเป็นอุปสรรคต่อการเดินหน้าจัดการเลือกตั้งหรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งหนังสือชี้แจงแล้วด้วยปัจจัยเรื่องของความไม่ปลอดภัย ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์.ระบุว่าพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับกกต.ทั้งนี้ กกต.พร้อมจะรับฟังความเห็นกลุ่มที่มีความเห็นต่างในการจัดการเลือกตั้งด้วย
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.กกต. ชี้แจงถึงเหตุผลที่กกต.วางโมเดลการกำหนดวันเลือกตั้ง อย่างเร็วที่สุด เป็นวันที่20กค. เนื่องจากว่า กกต.ได้เตรียมระยะเวลาเผื่อไว้ หากแต่ละขั้นตอนเกิดอุปสรรคจะได้แก้ไขทัน ไม่ทำให้การดำเนินการในภาพรวมติดขัด เช่น หากการพิมพ์บัตรเลือกตั้งประสบปัญหา ถูกปิดล้อม หรือ การจัดส่งบัตรเลือกตั้งไปยังหน่วยเลือกตั้งประสบปัญหา จะได้มีระยะเวลาในการแก้ไข ยืนยันว่ากกต.ไม่ได้มีเจตนา ทิ้งระยะเวลาให้เกิดการเลือกตั้งล่าช้าซึ่งกรอบเวลาดังกล่าว กกต.พิจารณาจากระยะเวลาในการส่งหนังสือให้คณะรัฐมนตรี ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ10วัน จากนั้นเป็นขั้นตอนในการนำพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้วทั่วไปขึ้นทูลเกล้าฯ อีกประมาณ20วัน และอีก60วันคือกรอบระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดว่าเมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งแล้วจะต้องจัดการเลือกตั้งภายใน45-60วัน ทั้งนี้ กกต.ได้คาดการณ์ว่าจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งส.ส.ครั้งใหม่ ในวันที่ 22พ.ค. จากนั้น กกต.ได้กำหนดวันเลือกตั้งออกเป็น 3โมเดล คือ หาก กกต.กำหนดให้พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ทันที จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ในวันที่ 20 ก.ค.หรือหาก กกต.กำหนดให้พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ภายหลังวันที่22พ.ค.ไปอีก28วัน จะทำให้สามารถกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 17 ส.ค.และหาก กกต.กำหนดให้พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ภายหลังวันที่22พ.ค.ไปอีก56วัน จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่14 ก.ย. และผลการหารือก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันใด จากนี้กกต.จะนำผลการหารือไปสรุปและพิจารณาวันเลือกตั้งร่วมกับรัฐบาลอีกครั้ง
วินัยธร+บุศรินทร์