“อาการปวดหัว” เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งสามารถบอกโรคได้

25 พฤศจิกายน 2563, 15:38น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 77

Filename: news/detail.php

Line Number: 394


            เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยมีอาการปวดหัวกันอยู่บ้างไม่มากก็น้อย หรือขณะนี้ ตอนนี้ก็อาจเป็นกันอยู่ ซ้ำอาการปวดหัวของแต่ละคนยังเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ต่างกันออกไปด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วรู้หรือไม่ว่าอาการปวดหัวที่เป็นนั้นสามารถบอกโรคคร่าวๆ ได้ ว่าแต่อาการปวดในบริเวณใดบ่งบอกอะไรเราบ้าง เรื่องนี้ให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้อธิบาย สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกันดีกว่า

           
 อาการปวดหัว บอกอะไรเราบ้าง?

            อาการปวดหัวที่จะพูดถึงนี้นั้นมีด้วยกัน 5 ประเภท โดยแต่ละประเภทสังเกตอาการได้ ดังนี้

            1. โรคปวดหัวจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ

            เป็นโรคปวดศีรษะที่พบมากที่สุด เกิดที่ตำแหน่งบริเวณหน้าผากและขมับทั้งสองข้าง บางครั้งร้าวมาที่ด้านหลังของศีรษะและต้นคอ รวมถึงบ่าไหล่ ซึ่งการปวดประเภทนี้เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับความเครียดด้วย

            2. ปวดหัวจากโรคไมเกรน

            จะมีอาการปวดบริเวณขมับด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ อาจจะปวดสลับกันได้ระหว่างข้างซ้ายหรือข้างขวา และเวลาปวดบางครั้งอาจร้าวเข้ามาที่กระบอกตาด้วย ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว และขณะที่มีอาการปวด ถ้าอยู่ในที่แสงสว่างจ้า หรือเสียงดัง มีกลิ่นฉุนเกินไปอาการปวดจะแย่ลง

            3. ปวดบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง

            อาการปวดบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้างบางครั้งลามลงมาจนถึงบริเวณหน้าผาก หรือว่าปวดตรงบริเวณดั้งจมูก อันนี้เป็นตำแหน่งของไซนัส หากผู้ป่วยปวดบริเวณนี้บ่งบอกถึงอาการอักเสบของไซนัส

            4. ปวดจากการอักเสบของกราม

            มักจะมีอาการปวดบริเวณหน้าใบหู ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคี้ยวอาหาร ผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีการกัดฟันตอนเวลานอน ตื่นเช้ามาก็รู้สึกว่าเวลาขยับปากหรือเวลาเคี้ยวอาหารจะรู้สึกปวดบริเวณหน้าใบหู อาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะกระดูกกรามหน้าใบหูอักเสบได้

            5. อาการปวดอาจจะมาจากโรคที่ร้ายแรง


            โรคร้ายแรงที่พูดถึง อย่าง โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเนื้องอกสมอง ซึ่งโรคพวกนี้อาการปวดจะมีลักษณะรุนแรง และปวดรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้อาจจะมีอาการมองเห็นที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเห็นภาพซ้อน หรือว่ามองเห็นไม่ชัด มีการชาหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย บางคนอาจมีพฤติกรรมที่ผิดปกติไปกว่าเดิม รวมไปถึงชักเกร็ง



            หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ รวมถึงมีอาการปวดศีรษะบวกกับไข้หรือคอแข็ง อาจมีความเสี่ยงเยื่อหุ้สมองอักเสบ แนะนำให้รีบมาพบแพทย์โดยเร่งด่วน เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป



 



ข้อมูล : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth





 



 







 



 

ข่าวทั้งหมด

X