“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” ใช่โรคหัวใจวายหรือไม่ วิธีระวังตัวควรทำอย่างไร?

22 ธันวาคม 2563, 15:36น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 77

Filename: news/detail.php

Line Number: 394


            “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วไม่ทันตั้งตัว แต่ถึงกระนั้นหลายๆ คนมีความเข้าใจว่าใช่โรคเดียวกับหัวใจวาย เรื่องนี้ใช่หรือไม่? แล้วสาเหตุของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นอย่างไร? จะมีวิธีระวังตัวแบบไหนบ้าง? ด้วยความห่วงใยจากผศ. พญ.รัชนี แช่ลี้  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

            ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันใช่โรคหัวใจวายหรือไม่?


            คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่ามันคือโรคเดียวกัน แต่จริงๆ แล้วกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหัวใจวาย เพราะว่าหัวใจวายคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดหัวใจวายได้ด้วย เช่น ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ ไม่ใช่แค่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

            สาเหตุของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

            สาเหตุเป็นไปได้หลายอย่าง เนื่องจากเราเชื่อว่ามีพลาคหรือว่าตะกรันอยู่ในหลอดเลือด (นึกถึงท่อน้ำที่ใช้นานๆ เกิดสนิมจนอุดกั้นท่อน้ำ) โดยเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ 


            - แบบค่อยๆ เกิด คือ ที่เมื่ออายุมากขึ้นตะกรันก็ค่อยๆ พอก สะสมไปเรื่อยๆ ทำให้สามารถพบแพทย์ทันท่วงที



            - แบบเฉียบพลัน คือ ตะกรันเกิดฉีกขาดอยู่ภายในหลอดเลือด จากนั้นลิ่มเลือดเกิดการอุดตันทันที ทำให้เลือดไม่ไหล จากที่มีเลือดพอหายไปเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเริ่มตกใจ จึงเต้นขึ้นมาผิดจังหวะอย่างรุนแรง และการเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงทำให้หัวใจไม่บีบตัวเลย ผู้ป่วยจึงเสียชีวิตเฉียบพลัน 

            แต่ถึงอย่างไร ก็ยังถือว่าโชคดีที่คนเรามีเส้นเลือด 3 เส้น บางคนยังมีชีวิตรอดอยู่เพราะว่าเส้นที่เหลือช่วยหล่อเลี้ยงอยู่

            
วิธีการระวังตัวให้ห่างไกลจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

            การระวังตัว คือ ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิด เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมัน ความดันสูง สูบบุหรี่ ความเครียด ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ก็ให้เลี่ยงไป แต่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่าง กรรมพันธุ์ เช่น พ่อหรือแม่เป็นโรคนี้ เสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อยกว่า 45 ปี ก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาช่วยลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ยาลดไขมันกลุ่มสแตติน หรือยาต้านเกร็ดเลือด

            สำหรับอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ เจ็บหรือแน่นหน้าอกทั่วๆ ไป บางคนอาจจะร้าวไปแขนซ้าย กราม บริเวณคอสองข้าง บางคนเป็นเยอะหายใจไม่ออก จนถึงขั้นหมดสติ

      หากใครมีอาการเจ็บจี๊ดบริเวณหัวใจนาน 5 – 20 นาที แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว
เพราะภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเจอเร็ว รักษาได้เร็ว มีโอกาสรอดชีวิตสูง



 



ข้อมูล : RAMA CHANNEL





 



      



 

ข่าวทั้งหมด

X