5 พฤติกรรมเสี่ยงและเทคนิคดูแลหู ลดการเกิดผลกระทบต่อการได้ยินตลอดจนระบบทรงตัว

25 มกราคม 2564, 15:58น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 77

Filename: news/detail.php

Line Number: 394


            รู้หรือไม่? ว่าพฤติกรรมบางอย่างที่ทำกับหูในชีวิตประจำวัน หรือความเคยชินอาจทำให้เกิดผลร้ายแรงต่อการได้ยินแบบไม่รู้ตัว และอาจทำให้เกิดผลกระทบได้หากดูแลแบบผิดๆ ด้วยความห่วงใยจาก พญ.ศิริลักษณ์ ผลศิริปฐม แพทย์ประจำแผนกโสต สอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา ศูนย์การแพทย์กาญจนภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จึงได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับเทคนิคการดูแลหูตามพฤติกรรมเสี่ยงให้ถูกวิธี เหมาะสม ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการได้ยินตลอดจนระบบทรงตัวได้

            “ขี้หู” สารสร้างขึ้นตามธรรมชาติ ปรับสมดุลให้ช่องหู


            โดยปกติแล้วขี้หูเป็นสารที่ร่ายกางสร้างขึ้นมาตามธรรมชาติอยู่แล้ว และมีหน้าที่ช่วยปรับสมดุลในบริเวณช่องหู ทำให้ช่องหูมีความชุ่มชื้น ป้องกันการติดเชื้อ โดยหูสามารถมีกลไกที่จะขจัดขี้หูอยู่แล้ว แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการขี้หูอุดตัน จนมีอาการปวดขึ้นมา หรือหูอื้อควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

            5 พฤติกรรมเสี่ยงและเทคนิคดูแลหูอย่างถูกวิธี

1. อยู่กับเสียงดัง

            บางคนอาจจะใส่หูฟังฟังเพลงหรือคุยโทรศัพท์นาน ทำให้การได้ยินค่อยๆ เสื่อมทีละเล็กละน้อย หรืออยู่กับเสียงดังที่เป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น เสียงปืน เสียงประทัด และเสียงดังในระยะเวลานานๆ เช่น ในโรงมหรสพ โรงงานอุตสาหกรรม ก็อาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรือฉับพลันได้เช่นกัน แนะนำให้หลีกเลี่ยงเพราะอาจทำให้เกิดอาการได้ยินที่ผิดปกติไป

2. แคะหู ปั่นหู

            ควรหลีกเลี่ยงการแคะหู ปั่นหู หรือใช้อุปกรณ์ใดๆ ก็ตามเข้าไปทำความสะอาดในบริเวณช่องหู เพราะสิ่งที่เราเอาเข้าไปปั่นอาจทำให้เกิดการระคายเคือง ไปดันแก้วหูที่อยู่ด้านนอกให้ลึกเข้าไปด้านใน หากเกิดการอักเสบ ติดเชื้อเยอะจะทำให้ปวดบวม หรือมีน้ำหนองไหลออกมา หรือบางคนเป็นหนักถึงขั้นอาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้

 3. น้ำเข้าหูบ่อยๆ

            พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำเข้าหู โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติหูชั้นนอกอักเสบบ่อยๆ หรือเยื่อแก้วหูทะลุอยู่แล้ว เนื่องจากการที่น้ำเข้าหูอาจมีเชื้อโรคเข้าไปด้วย เกิดการอักเสบ ติดเชื้อตามมาได้ แต่กรณีที่น้ำได้เข้าหูไปแล้วให้พยายามเอาน้ำออกด้วยการตะแคงศีรษะด้านที่น้ำเข้าหูให้ต่ำลงแล้วดึงใบหูกางออก โยกไปทางด้านหลัง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วช่องหูจะมีลักษณะเป็นรูปตัวเอส (S) การทำลักษณะนี้ช่องหูจะตรงขึ้นและทำให้น้ำไหลออกมาได้ง่าย

4. สั่งน้ำมูกแรง



            เวลาที่เราเป็นหวัดหรือมีอาการคัดจมูก มีอาการไซนัสอักเสบ บางคนเผลอสั่งน้ำมูกแรงๆ รวมทั้งบีบจมูกเวลาสั่งน้ำมูก ซึ่งจริงๆ แล้วไม่แนะนำให้ทำ เพราะการสั่งน้ำมูกแรงๆ โดยเฉพาะบีบจมูกเวลาสั่งน้ำมูก อาจทำให้เชื้อโรคบริเวณในจมูกหรือหลังโพรงไซนัสย้อนขึ้นไปทำให้ติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลางได้ ควรรีบรักษาทำให้อาการบรรเทาลงโดยเร็วที่สุด

5. ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์

            เวลาที่เราจะใช้ยาไม่ว่าจะแบบกิน แบบฉีดโดยเฉพาะยาหยอดหู ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เนื่องจากยาบางชนิด มีส่วนประกอบที่มีอันตรายต่อประสาทหูและระบบประสาทการทรงตัว ดังนั้น การใช้ยาโดยผิดวิธี หรือไม่ทราบข้อบ่งชี้อย่างชัดเจนอาจทำอันตรายต่อระบบประสาทการได้ยิน และระบบประสาทการทรงตัว

            
อย่างไรก็ตาม เราสามารถสังเกตตนเองว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับหูหรือไม่ ตามลักษณะกลุ่มอาการที่มีปัญหา ได้แก่ กลุ่มปัญหาการได้ยินผิดปกติ มักมีอาการหูอื้อ/มีเสียงดังในหู กลุ่มหูอัก หรือติดเชื้อ มักมีอาการปวดหู/มีน้ำไหลออกมาจากหู และกลุ่มการทรงตัวผิดปกติ มักมีอาการเวียนศีรษะ/บ้านหมุน ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้แนะนำให้พบแพทย์ทันที



ข้อมูล : 
Mahidol Channel





 



 

ข่าวทั้งหมด

X