หลีกเลี่ยง ‘คำถาม’ ทำร้ายจิตใจผู้ป่วยสมองเสื่อม
ดูแลด้วย “ใจ” ให้ “เขา” และ “คุณ” ไม่เครียด
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม หรือในครอบครัวมีผู้ป่วยโรคนี้ แนวทางสำคัญที่จะช่วยเยียวยาจิตใจและอาการของผู้ป่วย รวมถึงไม่ทำให้ผู้ดูแลเกิดความรู้สึกท้อแท้และเครียด นั่นคือ ต้องเข้าใจผู้ป่วย ให้เหมือนกับเราคือคนป่วย
1. “อัลไซเมอร์” คือหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
2.ผู้ป่วยสมองเสื่อม มีความบกพร่องทั้งด้านอารมณ์(แปรปรวน) ความคิด(สับสน) และความสามารถในการสื่อสาร(ช้าลง) ดังนั้น การพูด การกระทำของผู้ป่วยมักเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ และไม่รู้ตัว ผู้ดูแลจึงควรใจเย็น พยายามทำความเข้าใจกับอารมณ์ คำพูด และการกระทำของผู้ป่วย
3.หลีกเลี่ยงการใช้คำพูด คำถาม หรือการกระทำที่จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วย เช่น “จำได้มั้ย?” “ลืมแล้วเหรอ?” “เป็นอัลไซเมอร์รึเปล่า?” แม้จะเป็นคำถามง่าย ๆ แต่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว หรือไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย
4.การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยบริหารสมอง จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เพราะช่วยให้ความเครียด และอาการซึมเศร้าลดลงได้
กรณีผู้ดูแลเกิดความเครียด ควรหากิจกรรมที่จะช่วยลดความเครียดของตัวเอง และหากเป็นไปได้ให้สลับคนอื่นมาทำหน้าที่แทนชั่วคราวเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดสะสม ซึ่งจะส่งผลกระทบอต่อผู้ป่วยได้
หากพบเห็นผู้พลัดหลง ที่มีสัญลักษณ์ดอก Forget Me Not คุณช่วยเขาได้ เพียงสแกน QR Code ติดต่อมาที่ จส.100...ปฏิบัติการรวมพลังน้ำใจ ช่วยพาผู้ป่วยสมองเสื่อมกลับบ้าน
--------------------------------------
สนับสนุนโดย..
-สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย
-รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
-คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
-ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ.จุฬาฯ
-จส.100
-บริษัท เฌอร่า จํากัด (มหาชน)
-บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
-บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
-บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในนาม ทรู-ดีแทค
-บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)
-น้ำดื่มสิงห์
-บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน)
-กลุ่มบริษัทอำพลฟูดส์
-MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง
-เซเว่น อีเลฟเว่น
#โรคสมองเสื่อม #อัลไซเมอร์ #สมาคมโรคสมองเสื่อม #JS100