ดนตรีบำบัดคืออะไร?
เป็นศาสตร์ทางการแพทย์อย่างหนึ่งในการบำบัดที่นำเอาดนตรีและองค์ประกอบต่างๆของดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการบำบัด เพื่อช่วยฟื้นฟูอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วย อีกทั้งยังส่งเสริมสุขภาวะในด้านกายภาพ และจิตใจ รวมไปถึงด้านอารมณ์ ด้านความจำ และยังช่วยพัฒนาทักษะในการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์การเข้าสังคมที่ดีร่วมกับผู้อื่น
ดนตรีบำบัดคือดนตรีแนวไหน?
ดนตรีบำบัดสามารถใช้ได้ทุกแนวโดยขึ้นอยู่กับผู้เข้ารับการบำบัดว่าชอบดนตรีแบบใด เพราะดนตรีเปรียบเสมือนศิลปะแขนงหนึ่งที่มีความหลากหลาย แค่เป็นดนตรีที่ทำให้เรารู้สึกสนุก ผ่อนคลาย สบายใจ ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการรักษาที่ดี
ดนตรีบำบัด แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
ดนตรีบำบัดด้านกายภาพ การตอบสนองของร่างกายต่อดนตรีบำบัด เช่น การร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี เต้นหรือขยับร่างกายไปตามจังหวะของดนตรี มีส่วนช่วยให้ทุกส่วนของร่างกายถูกกระตุ้น เลือดทำการสูบฉีด ร่างกายจะรู้สึกโล่งสบาย และสามารถฟื้นฟูอาการของโรคต่าง ๆ ได้
ดนตรีบำบัดด้านจิตใจ เสียงของดนตรีจะทำให้คลื่นสมองเคลื่อนไหวเป็นจังหวะตามจังหวะดนตรี ดนตรีบำบัดยังสามารถทำให้เกิดคลื่นสมองที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายในระดับลึกได้และให้ผลได้ดีเหมือนการทำสมาธิ พอสมองถูกกระตุ้นจากเพลง สมองจะหลั่งสารเอ็นโดนฟิน (Endorphin) ที่ทำให้เกิดการผ่อนคลายและมีความสุข
งานวิจัยจากหลายประเทศพบว่า เมื่อใช้ดนตรีบำบัดในการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยลดอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ความเครียด ช่วยปรับสมดุลของอารมณ์ให้คงที่ทำให้อารมณ์ดี ผ่อนคลาย สนุกสนาน และสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยในเรื่องของความจำที่หายไป อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้มีคุณภาพและมีความสุขมากขึ้น
ดนตรีบำบัดช่วยผู้ป่วยได้อย่างไร?
- ด้านจิตใจและอารมณ์ ดนตรีทำให้ปลดปล่อยความรู้สึกแย่ ๆ ในใจออกมาได้ ถ้าผู้ป่วยได้ฟังเพลงที่ตนเองชอบหรือเพลงเก่าๆที่หวนให้คิดถึงช่วงเวลาที่มีความสุข จะทำให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีและมีความสุขมาก อีกทั้งยังจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลได้
- ด้านกายภาพ พอได้ขยับร่างกายตามเสียงเพลง ทุกส่วนในร่างกายจะถูกกระตุ้น สมองเริ่มหลั่งสารเอ็นโดนฟิน (Endorphin) สารแห่งความสุข อาการเจ็บป่วยจะเริ่มบรรเทาลง
- ด้านสังคมและการสื่อสาร ดนตรีคือภาษาสากลที่สามารถใช้เป็นสื่อกลางแทนการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน
- ด้านความคิดและความจำ การเล่นดนตรี การฟังและได้ร้องเพลง จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกเสียงตามเนื้อเพลง ช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดและการใช้ความจำ
หากพบเห็นผู้พลัดหลง ที่มีสัญลักษณ์ดอก Forget Me Not คุณช่วยเขาได้ เพียงสแกน QR Code ติดต่อมาที่ จส.100...ปฏิบัติการรวมพลังน้ำใจ ช่วยพาผู้ป่วยสมองเสื่อมกลับบ้าน
--------------------------------------
สนับสนุนโดย..
- สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย
- รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
- ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ.จุฬาฯ
- จส.100
- บริษัท เฌอร่า จํากัด (มหาชน)
- บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
- บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
- บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในนาม ทรู-ดีแทค
- บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)
- น้ำดื่มสิงห์
- บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน)
- กลุ่มบริษัทอำพลฟูดส์
- MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง
- เซเว่น อีเลฟเว่น