!-- AdAsia Headcode -->

"ARMOR" ชุดเกราะที่จะปกป้อง โอบอุ้ม คุ้มครอง ทุกปัญหาสวัสดิภาพประชาชน ให้ HuSEC (ศรส. ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน) ช่วยดูแล

26 พฤษภาคม 2567, 16:00น.


      ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน หรือ ศรส. สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยงานกลางในการทำหน้าที่เร่งรัด จัดการ และติดตามการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนที่ประสบปัญหาทางสังคม โดยมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วที่พร้อมลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง เร่งด่วน ตลอด 24 ชั่วโมง



"ARMOR" ความหมายที่แปลได้ตรงตัวคือ "ชุดเกราะ" เป็นแนวคิดการปฏิบัติภารกิจของ HuSEC 
(ศรส. ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน) ที่จะคอยทำหน้าที่ปกป้องและโอบอุ้มให้ประชาชนปลอดภัย



ศรส. มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร..?











ARMOR คือ ขั้นตอนการทำงานของ ศรส. แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ

1. A-Alert รับแจ้งเหตุจากผู้ที่ประสบปัญหา หรือพลเมืองดีที่พบเห็นเหตุฉุกเฉินทางสังคมแจ้งเบาะแสผ่านสายด่วน พม. 1300 หรือ ไลน์ @esshelpme

2. R-Rapidity เร่งรัด ติดตามให้ความช่วยเหลือ หากเป็นเหตุเร่งด่วนฉุกเฉิน ศรส. ส่วนกลางจะส่งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง ลงพื้นทันที แต่หากเหตุไม่เร่งด่วน จะประสานงาน ศรส. ในพื้นที่เข้าให้การช่วยเหลือ โดยกำหนดเวลาทำงานภายใน 24 – 72 ชั่วโมง ขึ้นกับความเร่งด่วนของเหตการณ์

3. M-Management จัดการ เป็นขั้นตอนสำคัญในการทำงานของ ศรส. โดยพิจารณาจากความเร่งด่วนของเหตุที่ได้รับแจ้ง แล้วกำหนดระยะเวลาการทำงานตามระดับความรุนแรงของเหตุการณ์นั้นๆ แบ่งเป็น 4 ระดับ 4 สี คือ

- ระดับสีแดงเข้ม ปัญหาที่มีระดับความรุนแรงสูง เป็นอันตรายต่อชีวิต ต้องได้รับการช่วยเหลือทันที เช่น ถูกทำร้ายร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศ



- ระดับสีแดง ผู้ประสบเหตุมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิต จิตใจ หรือทางเพศ ศรส.จังหวัด จะให้การช่วยเหลือภายใน 24 ชั่วโมง เช่น การค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน



- ระดับสีเหลือง กรณีที่ผู้ประสบเหตุอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก ไม่สามารถแก้ไขด้วยตัวเอง เช่น คนหาย เด็กมีพฤติกรรมมั่วสุม หนีออกจากบ้าน กำหนดเวลาดำเนินการช่วยเหลือภายใน 48 ชั่วโมง



- ระดับสีเขียว คือกรณีที่ประชาชนมีความเสี่ยงตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการรับเบี้ยความพิการ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เงินสงเคราะห์ต่างๆ หรือขาดแคลนกายอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น รถเข็นวีลแชร์ ไม้ค้ำ ศรส. จังหวัดจะดำเนินการช่วยเหลือภายใน 72 ชั่วโมง



4. O-Oversight ติดตามความคืบหน้าการทำงานของ ศรส. ในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งผู้ประสบเหตุสามารถทำได้ด้วยตัวเองผ่านระบบ E-Tracking โดยใช้เพียงเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก

5. R-Raising awareness สร้างความตระหนักรู้ในสังคม หลังจากภารกิจในการให้ความช่วยเหลือจบลง ศรส. จะรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ที่ได้รับแจ้ง นำมาวิเคราะห์ผลกระทบของปัญหา แนวโน้มของปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา เพื่อจัดทำรายงานสรุป และเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ ให้สังคมได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการกระตุ้นเตือน พร้อมสร้างค่านิยมให้คนในสังคมไม่นิ่งเฉย ไม่ละเลย และมีส่วนร่วมในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น

      โดยการแจ้งเบาะแสหากพบเห็นผู้ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาทางสังคม ผ่านช่องทางรับแจ้งเหตุของ ศรส. เช่น สายด่วน พม. 1300 , ไลน์ @esshelpme เป็นต้น

X