!-- AdAsia Headcode -->

กทพ. นำสื่อมวลชนลงพื้นที่สำรวจเส้นทางโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จ.ตราด กระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกในการเดินทาง

วันนี้, 18:55น.


กทพ. นำสื่อมวลชนลงพื้นที่สำรวจเส้นทางโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จ.ตราด กระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกในการเดินทาง



      วันที่ 29 กันยายน 2567 ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูนสุข พร้อมด้วยรองผู้ว่าการฯ และผู้บริหาร จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) พาสื่อมวลชนลงพื้นที่สำรวจเส้นทางในการดำเนินการ โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด เพื่อลดปัญหาการเดินทางสัญจรของนักท่องเที่ยวและชาวเกาะช้าง ตามที่เคยมีมติจากคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน จังหวัดตราด ในปี 2563 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะช้าง โดยมีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในปี 2564 พบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยในการสร้างสะพานเชื่อม จนถึงปี 2566 กระทรวงคมนาคมได้สั่งให้ การทางพิเศษฯ ร่วมกับ ทช.ดำเนินการสำรวจศึกษาและออกแบบสะพาน จึงได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ในทุกๆด้าน ทั้งด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม ด้านสังคม เศรฐกิจ โดยมีเส้นทางให้พิจารณา 4 เส้นทางเบื้องต้น คือ



      1.ทางหลวง 3156 ระหว่างท่าเรือกรมหลวงชุมพรและท่าเรือเฉลิมพล ตรงไปเชื่อม ถนน อบจ.ตร.10026 กม.8+550 ซึ่งมีบ้านเรือนประปราย ระยะทางรวม 9.82 กม.

      2.จุดเริ่มต้นที่เดียวกัน แต่แนวเส้นจะมุ่งตรงไปเชื่อม อบจ.ตร.10026 กม.6+750 ซึ่งมีบ้านเรือนประปราย ระยะทางรวม 9.82 กม. เส้นทางนี้ช่วงก่อนถึงชายฝั่งต้องยกข้ามพื้นที่ปะการัง กว้าง 100 เมตร ระยะทาง 9.95 กม.

      3.แนวเส้นทางใกล้กับท่าเรือเฟอร์รี่ เริ่มต้นจากบ้านธรรมชาติล่าง ทางหลวงชนบท ตร.4006 กม.2+840 ตัดผ่านเส้นทางเดินเรือ ไปเชื่อม กับถนนอบจ.ตร.10026 กม.5+300 ส่วนบริเวณชายฝั่งมีพื้นที่ปะการัง กว้าง 190-200 เมตร ระยะทางรวม 5.90 กม.

      4.เเนวเส้นทางเริ่มต้นที่ ทางหลวงชนบท ตร.4006 กม.3+500 เชื่อม กับถนนอบจ.ตร.10026 กม.1+900 ส่วนบริเวณชายฝั่งมีพื้นที่หญ้าทะเล กว้าง 150-200 เมตร ระยะทางรวม 5.59 กม.

      โดยสะพานทุกแนวเส้นทางจะต้องยกสูงเพื่อให้เรือทุกชนิดผ่านได้ งบประมาณก่อสร้างประมาณ 15,000 ล้านบาท





#กทพ

X