!-- AdAsia Headcode -->

พฤติกรรมเสี่ยงสมองเสื่อม เรื่องใกล้ตัวที่อาจมองข้าม

วันนี้, 10:04น.


      ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อปี 2564 “ภาวะสมองเสื่อม” เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จากสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ.2558 พบผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมถึง 47.47 ล้านคน และในปี พ.ศ.2573 จากการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มสูงถึง 75 ล้านคน

      ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิด ภาวะโรคสมองเสื่อม มาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวเรามากๆ และเป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามไป หากเราสามารถเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ได้ โอกาสที่จะเสี่ยงเกิดถาวะสมองเสื่อมในอนาคตจะลดลง และทำให้สุขภาพของเราดีขึ้น

1.ไม่ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกายแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สิ่งนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก การที่เราออกกำลังกายอย่างละ 2- 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในระยะเวลา 30-45 นาที นั้น จะมีส่วนใหญ่ในการป้องกันโรคสองเสื่อมได้ และยังช่วยให้ระบบการทำงานในร่างกายทำงานได้ปกติ หัวใจแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค

2.สูบบุหรี่ และ ดื่มแอลกอฮอลล์ การสูบุหรี่เป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมและโรคทางเดินหายใจอย่างที่หลายคนทราบกันดี เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินที่อันตรายต่อระบบในร่างกาย การดื่มแอลกอฮอลล์ก็เช่นกัน หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ร่างกายจะส่งผลลบ นอกจากจะติดแอลกอฮอลล์ (สุราเรื้อรัง) แล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็ง และโรคสมองเสื่อมได้

3.มลภาวะทางอากาศที่เป็นพิษ PM 2.5 ที่เราเผชิญกันอยู่ในทุกวันนี้ เป็ฯสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ ด้วยอนุภาคที่มีขนาดนั้นที่สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ เข้าสู่ปอดทำให้เกิดอาการติดเชื้อ ยังสามารถเข้าสู่สมองได้อีกด้วย

4.ขาดปฏิสัมพันธ์กับคน เพื่อนร่วมงาน ไม่เข้าหาสังคม ไม่มีการพูดคุย แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้เหมือนกัน เมื่อเราเก็บตัวไม่พบเจอใคร ไม่มีการพูดคุยกับใคร ในบางกรณีนั้นอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ยิ่งภาวะซึมเศร้ากลืนกินเราไปมากเท่าไร สารเคมีในสมองนั้นจะส่งผลให้เกิดโรคภาวะสมองเสื่อมแทรกเข้ามาได้

5.นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อสมองโดยตรง ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ และยังก่อให้เกิดปัญหาในการคิดวิเคราะห์ การควบคุมอารมณ์ ความสามารถในการเรียนรู้ลดลง แถมยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆตามมา เช่น โณคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
X