!-- AdAsia Headcode -->
จราจร
ของหายได้คืน
POST & SHARE
จราจร
ของหาย
ได้คืน
POST &
SHARE
68
Tweet
https://www.js100.com/en/site/post_share/view/145905
COPY
ปตร.ศรีสองรักฯ เสริมความมั่นคงด้านน้ำชาวเมืองเลย ลดแล้ง/ลดท่วม หนุนนโยบายรัฐเกษตรมูลค่าสูง
68
Tweet
https://www.js100.com/en/site/post_share/view/145905
COPY
วันนี้, 10:29น.
เมื่อวันที่ 18 พ.ย.67 นายสุนทร คำศรีเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 5 นายพิศัลย์ อุบลพิพัชร์ หัวหน้าฝ่ายวิศกรรม และผู้เกี่ยวข้อง นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเลย
นายสุนทร คำศรีเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 5 เปิดเผยว่า เนื่องจากสภาพของแม่น้ำเลย ที่มีต้นน้ำอยู่ที่ อ.ภูหลวง เป็นต้นน้ำที่น้ำไหลอเร็วผ่าน อ.ภูหลวง ด้วยลักษณะของพื้นที่เป็นที่สูงลาดชัน ก่อนจะค่อยๆไหลลงที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ผ่านพื้นที่ราบเชิงเขาในเขต อ.วังสะพุง และที่ราบลุ่มในเขต อ.เมืองเลย และไหลคดเคี้ยวตามธรรมชาติของลำน้ำลงสู่แม่น้ำโขงที่ อ.เชียงคาน รวมความยาว 230 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 3,560 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่ามากถึง 1,130 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อปี โดยในฤดูน้ำหลากประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หากปีไหนมีฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำ แม่น้ำเลยจะยกตัวสูงขึ้น และหากในช่วงเวลาเดียวกันระดับน้ำในแม่น้ำโขงหนุนสูงขึ้นด้วย จะทำให้น้ำในแม่น้ำเลยระบายลงแม่น้ำโขงได้ยาก ส่งผลให้น้ำเลยเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขต อ.วังสะพุง อ.เมืองเลย และ อ.เชียงคานได้ง่าย ส่วนในฤดูแล้ง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่มีความลาดชันและมีแหล่งเก็บกักน้ำน้อย อีกทั้งท้องแม่น้ำมีลักษณะเป็นทราย ไม่อุ้มน้ำ ลำน้ำจึงเหือดแห้ง เกิดเป็นภัยแล้งซ้ำซากอีกด้วย
กรมชลประทาน ได้พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำในลุ่มน้ำเลย ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบตร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเรื่อยมา อาทิ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กรวม 59 แห่ง ฝายทดน้ำและอาคารบังคับน้ำในลำน้ำเลยและลำน้ำสาขารวม 65 แห่ง สามารถกักเก็บน้ำได้รวม 86 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 8% ของปริมาณน้ำท่าของลุ่มน้ำเลยเท่านั้น อย่างไรก็ดี พื้นที่ตอนล่างของลำน้ำ โดยเฉพาะที่ อ.เชียงคาน ราษฎรยังประสบปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งอยู่ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาของลุ่มน้ำเลยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติอนุมัติให้ กรมชลประทานดำเนินโครงการประตูระบายน้ำ(ปตร.)ศรีสองรัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บริเวณลุ่มน้ำเลยตอนล่าง เพื่อช่วยบริหารจัดการลุ่มน้ำเลย ป้องกันน้ำโขงหนุน บรรเทาภัยน้ำหลาก และกักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำสำรองใช้ในช่วงฤดูแล้ง โดยในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา ปตร.ศรีสองรักฯ ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพ สามารถปิดกั้นน้ำจากแม่น้ำโขงไม่ให้หนุนเข้ามาสมทบกับน้ำฝนในพื้นที่ ช่วยลดความเสียหายจากอุทกภัยได้เป็นอย่างมาก ปัจจุบัน ปตร.ศรีสองรัก ฯ ได้ทำการปิดบานเพื่อเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำจนเต็มศักยภาพ จำนวน 6 ล้าน ลบ.ม. และพร้อมส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรฝั่งขวาของแม่น้ำเลยจำนวน 1,500 ไร่ ได้อย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้
จึงถือได้ว่า ปตร.ศรีสองรักฯ เป็นโครงการอเนกประสงค์ ที่ช่วยบรรเทาทั้งน้ำหลากและน้ำแล้ง เมื่อโครงการฯ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2570 จะสามารถสนับสนุนน้ำให้พื้นที่ชลประทานสองฝั่งลำน้ำเลยตอนล่างในหน้าฝนได้ 72,500 ไร่ ในหน้าแล้งได้ประมาณ 18,100 ไร่ รวมถึงสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้ราษฎรรวม 44 หมู่บ้านในตำบลต่างๆ ของอำเภอเชียงคาน ได้แก่ นาซ่าว, เขาแก้ว, ปากตม, ธาตุ, จอมศรี และหาดทรายขาว ทั้งยังช่วยสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นการก่อสร้างควบคู่ไปกับสถาปัตยกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของ จ.เลย มีการนำหัวผีตาโขนประดับที่บริเวณตอม่อและตกแต่งประดับไฟเพื่อความปลอดภัยให้แสงสว่าง และเพื่อความงดงามในยามค่ำคืน อีกทั้งมีหอชมทัศนียภาพ จำนวน 6 หอ ความสูง 28 เมตร นับเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชมทัศนียภาพลำน้ำเลยและแม่น้ำโขง นำรายได้สู่ราษฎรในพื้นที่และจังหวัดอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำนักงาน กปร. มอบโล่พร้อมเกียรติบัตร ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริของโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี จำนวน 10 แห่ง
วันนี้, 10:20น.
...
รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรชิดทางเท้า ช่องทางคู่ขนาน บนถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณสวนป่าวิภาวดีรังสิต ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 - 31 มกราคม 2568 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง
18 พฤศจิกายน 2567, 17:08น.
...
รมว.นฤมล ติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างสถานีสูบน้ำฯบ้านหมูม่น สร้างความมั่นคงด้านน้ำให้ชาวอุดรธานี
18 พฤศจิกายน 2567, 17:01น.
...
ข่าวทั้งหมด
X