!-- AdAsia Headcode -->
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เห็นชอบการขยายมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย สําหรับ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี และสายธานีรัถยา (สายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568 นั้น ถือเป็นการมอบของขวัญให้แก่ประชาชน โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่ง สาธารณะโดยรถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้สิ้นปีและเป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ 2568 ซึ่งคาดว่าจะมีการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรและมลภาวะ ฝุ่นละออง PM2.5
พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้ รฟม. พัฒนาพื้นที่ที่มีอยู่ให้รองรับจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่ง สาธารณะอื่นๆ และการพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้โดยสาร โดยมุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ของ รฟม. ให้สอดคล้องกับกระแสโลกยุคปัจจุบันมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพงานบริการ สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนในด้านการเดินทาง และการให้บริการระบบคมนาคมขนส่ง อันเป็นการช่วยเพิ่มจํานวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟฟ้า สายอื่นๆ ของ รฟม. นอกจากนี้ ให้ รฟม. รายงานผลการดําเนินงานตามมาตรการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รวมถึง วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน รวมถึงให้บูรณาการดําเนินงานร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า สูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมโครงการรถไฟฟ้าทุกสี ทุกสาย และทุกเส้นทาง ตามที่กระทรวงคมนาคม ตั้งเป้าหมายไว้ต่อไป
ด้าน นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทนผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า การขยาย ระยะเวลามาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ในระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จะดําเนินการ ต่อทันที โดยมีอัตราค่าโดยสารสําหรับบุคคลทั่วไป 14-20 บาท เด็ก/ผู้สูงอายุ 7-20 บาท และนักเรียน นักศึกษา 13-20 บาท นอกจากนี้ กรณีที่ผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ของ รฟม. เดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมือง สายสีแดงของ รฟท. ที่สถานีบางซ่อน โดยใช้บัตร EMV Contactless ใบเดียวกันในการชําระค่าโดยสาร และเปลี่ยนถ่าย ระบบภายในระยะเวลา 30 นาที จะชําระค่าโดยสารทั้งสองสายรวมกัน สูงสุด 20 บาท
ทั้งนี้ ตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ รฟม. ได้เริ่มดําเนินการมาตรการดังกล่าว พบว่า จํานวนผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 17.54 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเริ่มมาตรการ โดยปัจจุบันผู้โดยสาร รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงเฉลี่ยอยู่ที่กว่า 66,000 คนต่อวัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงผล ของการดําเนินงานตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ได้อย่างชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมา รฟม. ได้ดําเนินการพัฒนาพื้นที่บริเวณ สถานีคลองบางไผ่ของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ให้เป็นศูนย์คมนาคมขนส่งด้านตะวันตก (คลองบางไผ่) ตามนโยบายของ กระทรวงคมนาคม โดยเปิดให้บริการจุดจอดรถรับ-ส่ง รถโดยสารประจําทางของ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) องค์การ ขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท สมาร์ทบัส จํากัด เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างระบบขนส่งสาธารณะ ทางบกและทางรางแบบไร้รอยต่อ (Seamless Transport) สนับสนุนให้เกิดการใช้ระบบขนส่งมวลชนในภาพรวมของ ทั้งโครงข่าย ลดการใช้รถส่วนบุคคลเพื่อลดปัญหาการจราจรและมลพิษทางอากาศ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา พื้นที่โดยรอบของสถานีรถไฟฟ้า รวมไปถึงการร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless ที่สามารถรองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้ามหานครในความรับผิดชอบ ของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง และใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับการชําระด้วยบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้า ชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจําทาง ขสมก. เป็นต้น สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร รฟม. เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทรศัพท์ 0 2716 4044 “รฟม. ร่วมยกระดับเมืองด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและนวัตกรรม เพื่ออนาคต ที่ยั่งยืน”