วันนี้ 23 ม.ค. 68 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) พร้อมด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ร่วมกันแถลงข่าว การเปิดให้บริการอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวแบบผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เจาะจง แหล่งที่มา (Utility Green Tariff แบบที่ 1: UGT1) เป็นการเปิดให้บริการไฟฟ้าสีเขียวครั้งแรกในไทย เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรับบริการไฟฟ้าสะอาด รองรับปริมาณความต้องการไฟฟ้าสีเขียวของ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมภาคเอกชน และการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการยกระดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า รวมทั้งเป็นหนึ่งในมาตรการจูงใจที่สำคัญรองรับการขยายฐาน การลงทุนจากธุรกิจข้ามชาติชั้นนำมายังประเทศไทย
ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ทางการไฟฟ้าทั้ง 3 การ ซึ่งได้แก่ กฟผ. กฟน. และ กฟภ. พร้อมแล้วที่จะเปิด ให้บริการอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวแบบผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เจาะจงแหล่งที่มา (UGT1) โดยเป็นการเพิ่มทางเลือก ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชน ที่มีความจำเป็น หรือมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียวสำหรับการดำเนิน ธุรกิจ โดยได้กำหนดอัตรา UGT1 เป็นส่วนเพิ่มจากค่าไฟฟ้าตามปกติหน่วยละประมาณ 6 สตางค์ต่อหน่วย โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการได้โดยผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ กฟภ. ผ่านแพลตฟอร์ม ugt.pea.co.th ผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ กฟน. ที่เว็บไซต์ mea.or.th ลูกค้าตรง กฟผ. ที่เว็บไซต์ egat.co.th ถึงวันที่ 28 ก.พ. 68 ทั้งนี้ ค่าส่วนเพิ่มดังกล่าวจะเรียกเก็บเฉพาะผู้ที่ใช้ไฟฟ้า UGT1 เท่านั้น จึงไม่ส่งผล กระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป
“การเปิดให้บริการไฟฟ้าสีเขียว แบบผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เจาะจงแหล่งที่มา หรือ UGT 1 ถือเป็นการ ความสำเร็จก้าวที่สำคัญในการให้บริการไฟฟ้าสะอาดพร้อมด้วยกระบวนการรับรองแหล่งที่มา ซึ่งอยู่ภายใต้ มาตรฐานและกติกาซึ่งเป็นสากลและได้รับยอมรับระดับสากล และยังเป็นครั้งแรกของไทยในการให้บริการ ไฟฟ้าและการรับรองไฟฟ้าสะอาดอย่างเต็มรูปแบบ เชื่อว่าจะเปรียบเหมือนการติดอาวุธให้กับผู้ประกอบการ ไทย สามารถเข้าไปแข่งขันในเวทีการค้าและการลงทุนในเวทีโลกได้เป็นอย่างดี ขจัดอุปสรรค ตอบโจทย์การค้า การลงทุนระหว่างประเทศ จูงใจให้ธุรกิจข้ามชาติชั้นนำระดับสากลใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต การค้า และการลงทุนในอนาคต” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว
ดร.พูลพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กฟผ. และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (กฟน., กฟภ.) จัดเตรียม UGT1 ไว้รองรับความต้องการเป็นปริมาณรวมประมาณ 2,000 ล้านหน่วยต่อปีพร้อมทั้งเตรียมการในการออก เอกสารรับรองไฟฟ้าสะอาดและแหล่งที่มาภายใต้มาตรฐาน I-REC ซึ่งเป็นใบรับรองที่ได้รับการยอมรับอย่าง กว้างขวางทีสุดมาตรฐานหนึ่งในระดับสากล โดยการไฟฟ้าได้เริ่มเปิดให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่สนใจลงทะเบียนแล้วตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา และมั่นใจว่าปริมาณไฟฟ้าสีเขียวจะมีปริมาณเพียงพอในการรองรับความ ต้องการไฟฟ้าสีเขียวรูปแบบนี้ของภาคเอกชนในช่วงแรกได้ทั้งหมด โดยในช่วงต่อไปจะมีการเปิดให้บริการ ไฟฟ้าสีเขียวแบบผู้ใช้ไฟฟ้าเจาะจงแหล่งที่มา (UGT2) และ Direct PPA เพิ่มเติม
ทั้งนี้จากการเปิดให้บริการที่ผ่านมาได้มีผู้ติดต่อลงทะเบียนเพื่อสมัครใช้บริการแล้วประมาณ 600 ล้าน หน่วย ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจการค้าระหว่างประเทศที่นำไปใช้ในการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซฯ ตามนโยบาย ของบริษัทแม่หรือบริษัทคู่ค้า บริษัทจดทะเบียนชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องการการรับรองไฟฟ้าสีเขียว -2- เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการสนับสนุนพลังงานสะอาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่น ธุรกิจการเงินการธนาคาร อุตสาหกรรมการผลิต ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
นายธวัชชัย สำราญวานิช รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์กฟผ. กล่าวว่า “กฟผ. ได้ร่วมพัฒนา UGT ขึ้น เพื่อตอบโจทย์และเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการ ใช้ไฟฟ้า หรือ Scope 2 Emissions โดยอาศัยกลไกใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ REC ตามมาตรฐาน I-REC ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยได้ออกแบบให้มี Arrangement Unit ที่ดำเนินการผ่าน UGT Platform ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดสรรและจับคู่ข้อมูลระหว่างหน่วยผลิต ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนกับข้อมูลหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริงของผู้ใช้บริการ นำไปสู่การรับรองและส่ง มอบ REC ให้กับผู้ใช้บริการตามแนวทาง Bundled REC ซึ่งเป็นแนวทางที่รวมการชำระค่าไฟฟ้าและค่าบริการ ใบรับรอง REC ไว้ในธุรกรรมเดียว ดังนั้น UGT จึงไม่เพียงช่วยตอบความต้องการให้กับภาคธุรกิจและ ภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ Net-zero emissions และมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียวในประเทศไทย แต่ยังเป็น เครื่องมือสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพิ่มศักยภาพขีดความสามารถการแข่งขันทาง เศรษฐกิจของไทย และขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวในระดับภูมิภาค เป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล”
นายพิศณุ ตันติถาวร รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์องค์กรและความยั่งยืน กฟน. กล่าวว่า “การไฟฟ้า นครหลวงจึงร่วมกับภาครัฐ พร้อมให้บริการจัดหาและส่งมอบพลังงานไฟฟ้าสีเขียว พร้อมใบรับรองเครดิตการ ผลิตพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Certificate (REC) โดยในปี 2568 การไฟฟ้านครหลวง ได้เปิด ให้บริการอัตราค่าไฟฟ้าสีเขียวแบบไม่เจาะจงแหล่งที่มา ที่เรียกว่า UGT1 กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 3, 4 และ 5 เป็นกลุ่มแรก โดยที่ผู้ประสงค์ขอใช้บริการอัตราค่าไฟฟ้าสีเขียว UGT1 เพียงมีคุณสมบัติ ไม่มีประวัติค้างชำระ กับการไฟฟ้านครหลวง และไม่มีคดีความเกี่ยวกับการละเมิดใช้ไฟฟ้า ณ วันที่สมัครใช้บริการ ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ อยู่ในพื้นที่ให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง (กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ) และมีความ ประสงค์จะขอใช้บริการอัตราค่าไฟฟ้า UGT1 สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการลงทะเบียน และ ลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2568 โดยช่องทางเว็บไซต์ www.mea.or.th หรือแพลตฟอร์ม (https://eservice.mea.or.th/ugt/)
- 1) ผู้สมัคร ลงทะเบียนเข้าใช้งาน โดยกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลของนิติบุคคลให้ครบถ้วน พร้อม ทั้งอัปโหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามที่ระบุไว้บนหน้าเว็บไซต์ เช่น เอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับ ผู้ใช้ ไฟฟ้าที่เป็นนิติบุคคล เอกสารการมอบอำนาจดำเนินการลงทะเบียน
- 2) เมื่อเอกสารของผู้ขอใช้บริการ ได้รับการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องจาก กฟน. แล้ว ผู้ขอใช้ บริการจะสามารถเลือกและยืนยันปริมาณพลังงานไฟฟ้าสีเขียวที่ต้องการได้ในแต่ละเดือนตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนด
- 3) ผู้ขอใช้บริการ เข้าจองปริมาณพลังงานไฟฟ้าสีเขียวที่ต้องการ ผ่านหน้าเว็บไซต์ กฟน. โดยระบบจะ จัดสรรในรูปแบบ First Come, First Served
- 4) ผู้ขอใช้บริการที่ได้รับการจัดสรรพลังงาน จะต้องดำเนินการลงนามข้อตกลงเพิ่มเติมสำหรับการใช้ บริการอัตรา UGT1 ก่อนเริ่มให้บริการ
การไฟฟ้านครหลวงขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่ออนาคต ที่ยั่งยืน ทั้งนี้ช่องทางการติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ท่านสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ กฟน. www.mea.or.th.”
นางสาวภูสุดา สงคศิริผู้ช่วยผู้ว่าการยุทธศาสตร์กฟภ. กล่าวว่า “กฟภ. มีความพร้อมในการ ให้บริการ โดยได้เปิดรับสมัครผู้ใช้บริการตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2568 เป็นต้นมา ผู้สนใจสามารถสมัครใช้บริการ ผ่านแพลตฟอร์ม ugt.pea.co.th ซึ่งได้รับการออกแบบให้เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐเพื่ออำนวยความ สะดวกในการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ไฟฟ้าหลังจากการยืนยันตัวตนเสร็จสิ้นผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถระบุปริมาณความ ต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียวและยื่นคิวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ผ่านมา กฟภ. ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องผ่านเว็บไซต์กฟภ. และช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ และมีผู้ใช้ไฟฟ้าจากกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มเคมีภัณฑ์และกลุ่มปิโตรเคมีให้ความสนใจและเข้ามาลงทะเบียนแล้วหากผู้ใช้ไฟฟ้ามี ข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อ PEA Contact Center 1129 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง”