เรากำลังเข้าข่าย Brain Rot ภาวะสมองเน่าจากการเสพสื่อเชิงลบ อยู่หรือเปล่า?

08 เมษายน 2568, 15:29น.


ในยุคที่สื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา คำว่า “Brain Rot” หรือ สมองเน่า จึงกลายเป็นคำที่หลายคนคุ้นหู หมายถึง ผลกระทบเชิงลบต่อสมองที่เกิดเสพข่าว เสพคอนเทนต์ ที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีสาระ แม้จะดูเพื่อความบันเทิงชั่วคราว แต่รู้ไหมว่าการเสพคอนเทนต์เหล่านี้ กลับมีผลเสียกว่าที่คิด

      เกิดภาวะที่สมองเริ่มสูญเสียความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึก เนื่องจากการรับข้อมูลจำนวนมหาศาลในรูปแบบที่ตื้นและสั้นจากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น  โพสต์สั้นๆ รูปภาพ หรือวิดีโอสั้น รวมไปถึงการเห็นโพสต์ไลฟ์สไตล์ที่ดูดีหรือชีวิตที่สมบูรณ์แบบของผู้อื่น ทำให้สมองไม่ได้รับการฝึกฝนด้านความคิดลึกซึ้ง ไม่ได้หยุดพักจนเกิดความเหนื่อยล้าทางจิตใจ มีสมาธิลดลง อาจเกิดการเปรียบเทียบกับตัวเอง จนเริ่มรู้สึก กดดัน ท้อแท้ สิ้นหวัง

      ผลกระทบที่ตามมา จะทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าและวิตกกังวล ยิ่งถ้าติดตามข่าวสารและสื่อสังคมออนไลน์ตลอดเวลา ยิ่งทำให้เกิดความเครียดและความรู้สึกเหนื่อยล้าทางจิตใจได้



วิธีรับมือเพื่อลดผลกระทบของ Brain rot

      - กำหนดเวลาการใช้งานสื่อออนไลน์ในแต่ละวันและสร้างกิจกรรมที่ไม่มีหน้าจอเข้ามาแทนที่ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย ทำงานศิลปะ ทำอาหาร ฯลฯ

      - เลือกเนื้อหาที่มีประโยชน์ น่าสนใจและติดตาม เนื้อหาที่ช่วยเพิ่มความรู้และแรงบันดาลใจ ทดแทนเนื้อหาที่ไม่มีแก่สาระความรู้

      - ตระหนักรู้และเปลี่ยนแปลงมุมมอง พยายามรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์สำหรับเราไหม” “ถ้าเสพสื่อพวกนี้จะเกิดผลกระทบต่อตัวเราอย่างไร” การตั้งคำถามเหล่านี้จะทำให้ตัดสินใจเลือกดูสื่อได้อย่างเหมาะสมต่อตัวเองมากขึ้น 

      ภาวะสมองเน่าไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน แต่เป็นผลจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน หากรู้ตัวว่าตัวเองกำลังจะเปิดภาวะนี้ ควรลดการดูสื่อที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเราให้น้อยลงและกลับมาให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตมากขึ้น

X