กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) เผยแพร่ภาพ Infographic ให้ความรู้และข้อควรสังเกตแก่ประชาชนเกี่ยวกับ 7 วิธีการหลอกลวงของขบวนการแชร์ลูกโซ่ หรือขบวนการต้มตุ๋นและฉ้อโกงประชาชน หากเราพบเห็นพฤติการณ์เหล่านี้ ให้พึงระวังไว้เลยว่าคุณอาจกำลังตกเป็นเหยื่อ
1. ผู้ชักชวนเป็นบุคคลใกล้ชิด
มักเป็นญาติ หรือเพื่อนที่รู้จักกันอยู่แล้ว ะมักชักชวนแบบปากต่อปาก แล้วขยายเป็นเครือข่ายใยแมงมุม เพราะบริษัทอาจไม่มีตัวตนจริง หรือใช้เลขจดทะเบียนปลอม
2.อ้างบุคคลหรือผู้ที่มีขื่อเสียงในสังคมเข้าร่วมกิจกรรม
มักอ้างถึงผู้มีชื่อเสียงเพื่อให้เกิดศรัทธา ซึ่งมีทั้งแบบผู้มีชื่อเสียงที่ถูกหลอกอีกทอด หรืออาจว่าจ้างเป็นครั้งราาว
3. อ้างหลักฐานผลประโยชน์และเงินมหาศาลที่จะได้รับ
มักนำเงินสดหรือทรัพย์สินมาแสดงให้เห็น เพื่อให้เหยื่อเกิดกิเลส จนตกหลุมพรางยอมจ่ายเงินก้อนแรกที่ไม่มาก และหลอกว่าจะได้ผลตอบแทนคุ้มค่า
4. ใช้โฆษณาชวนเชื่อ
โฆษณาเกินความเป็นจริง มีทั้งรูปแบบตามอินเทอร์เน็ต คลิปวีดีโอ โปสเตอร์ ฯลฯ
5. แสดงผลการลงทุนน้อยแต่ประโยชน์ตอบแทนสูงในระยะเวลาอันรวดเร็ว
เช่น ลงทุนหลักร้อย ได้เงินหลักล้าน ในระยะเวลาสั้น ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีทางเป็นไปได้
6. จัดฉากการอบรมสัมมนาอย่างยิ่งใหญ่
มักจัดให้มีงานสัมมนาขนาดใหญ่ เพื่อใช้จิตวิทยาหมู่หลอกลวง และสร้างอุปทานหมู่ในการซื้อสินค้าหรือลงทุน ซึ่งงานสัมมนาอาจมาในรูปแบบการประชุม ไปจนถึงหลอกให้มารับประทานอาหาร
7. พูดจาหว่านล้อมกดดันให้เหยื่อรีบตัดสินใจ
มักกดดันหรือบีบให้รีบตัดสินใจซื้อสินค้าหรือลงทุนอย่างรวดเร็ว เพราะหากเหยื่อมีเวลากลับไปคิด มักเปลี่ยนใจไม่เสียเงินตามเหตุและผลส่วนตัวของแต่คน
อย่างไรก็ตาม แม้ขบวนการแชร์ลูกโซ่จะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าหรือการลงทุนที่นำมาหลอกล่อเหยื่อ แต่ที่สำคัญในกลุ่มเลยวัยทำงาน เลยวัยกลางคน ไปจนถึงกลุ่มสูงวัย มักตกเป็นเหยื่ออันดับต้นๆ เพราะคนกลุ่มนี้มักมีรายได้หรือเงินเก็บคงที่ ภาระน้อยกว่าวัยทำงาน มีกำลังซื้อที่ดี และมักมีเพื่อนวัยเดียวกันมาชักชวน รู้เช่นนี้แล้ว.. ลูกๆอย่าลืมแชร์ให้คนที่คุณรัก จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแล้วเสียใจทีหลัง
อภิสุข เวทยวิศิษฏ์