จราจร
ของหายได้คืน
POST & SHARE
จราจร
ของหาย
ได้คืน
POST &
SHARE
2571
Tweet
https://www.js100.com/en/site/post_share/view/58235
COPY
กรมทางหลวงเดินหน้าขยายทางหลวงหมายเลข 22 (อ.หนองหาน-อ.พังโคน, สกลนคร-นครพนม) และทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) ให้เป็น 4 ช่องจราจร
2571
Tweet
https://www.js100.com/en/site/post_share/view/58235
COPY
04 กรกฎาคม 2561, 16:00น.
ประชาสัมพันธ์
นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ได้ให้ความสนับสนุนรัฐบาลไทยโดยอนุมัติวงเงินกู้ Loan 3582-TH GMS HEP Phase II (Greater Mekong Subregion (GMS) Highway Expansion Phase 2 Project (HEP 2) ) สำหรับใช้
พัฒนาขยายทางหลวงหมายเลข 22 ตอน อ.หนองหาน-อ.พังโคน ตอน สกลนคร-นครพนม และทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ร้อยเอ็ด-ยโสธร ให้เป็น 4 ช่องจราจร
โดยมีวงเงินทั้งสิ้น 6,808 ล้านบาท แบ่งเป็นกรอบวงเงินกู้ 50% หรือเท่ากับ 3,404 ล้านบาท และเงินงบประมาณ 50% ตามมติ ครม. ทั้งนี้เนื่องจากจากผลการประเมินของ ADB พบว่า โครงการต่างๆก่อนหน้านี้ที่ ADB ให้ความสนับสนุน เช่น โครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 12 พิษณุโลก-อ.หล่มสัก และทางหลวงหมายเลข 359 อ.พนมสารคาม-สระแก้ว ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยและบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จากผลการประเมินของ ADB พบว่าผลการดำเนินการเบิกจ่ายของโครงการเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ มีประสิทธิภาพการบริหารโครงการดีเยี่ยม
โดย
โครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 22 ตอน อ.หนองหาน-อ.พังโคน และตอน สกลนคร-นครพนม เป็นการก่อสร้างขยายจากทาง 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร มาตรฐานทางชั้นพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลวงสายเอเชีย หมายเลข 15 (AH15) ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ข้ามแม่น้ำโขงที่จ.นครพนม เชื่อมต่อไปยังเมืองท่าแขก สปป.ลาว และเมืองวินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและยังสามารถเชื่อมต่อไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้ นอกจากนี้เส้นทางโครงข่าย เลย-อุดรธานี-สกลนคร-นครพนม ยังเป็นโครงข่ายที่เชื่อมโยงพื้นที่ด่านชายแดนนครพนมและพื้นที่ด่านชายแดนหนองคายเข้าด้วยกัน และเป็นโครงข่ายที่สนับสนุนแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 (เขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนมและเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย)
สำหรับ
โครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ร้อยเอ็ด-ยโสธร เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางโครงข่าย นครสวรรค์-ชัยภูมิ-อ.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-ยโสธร-อุบลราชธานี-ช่องเม็ก เชื่อมโยงพื้นที่ด่านชายแดนช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี กับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และเชื่อมต่อเข้าสู่โครงข่ายระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ผ่านทางหลวงหมายเลข 21 ที่ อ.แก่งคร้อ เพื่อเข้าสู่ระเบียงเศรษฐกิจที่ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ซึ่งมีความสำคัญช่วยส่งเสริมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากตอนใต้ของสปป.ลาว ผ่านไปยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจในภูมิภาคได้อีกทางหนึ่ง
อธิบดีกรมทางหลวงยังกล่าวต่อไปอีกว่า กรมทางหลวงได้พิจารณาเพิ่มเติมด้านความปลอดภัยในเส้นทางดังกล่าว เนื่องจากเป็นเส้นทางที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกที่มีปริมาณมาก ซึ่งเดิมการจอดพักตามข้างทางหรือไหล่ทางของรถบรรทุกอาจก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุและทำให้เกิดอุปสรรคด้านความคล่องตัวของการจราจร หรือการขับรถทางไกลเป็นระยะเวลานานโดยไม่หยุดพักทำให้สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทาง จึงได้
ออกแบบให้มีพื้นที่จุดพักรถบรรทุก หรือ Truck Rest Area จำนวน 3 จุด ได้แก่ สกลนคร-นครพนม ตอน 2 ร้อยเอ็ด-ยโสธร ตอน 1 และ 2 รวมทั้งให้มีสถานีตรวจสอบน้ำหนัก
บนเส้นทางดังกล่าว และได้มีการ
กำหนดจุดตรวจสอบน้ำหนักรถบรรทุกบนสายทาง หรือ Virtual Weight Station ช่วง อ.หนองหาน-อ.พังโคน ตอน 2
เพื่อควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการบรรทุกน้ำหนักเกินที่จะส่งผลต่ออายุการใช้งานของทางหลวง และช่วยประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงทางของประเทศต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา 'พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน' ฉบับที่ 4
25 เมษายน 2568, 22:04น.
...
รฟม. ลงพื้นที่ต่อเนื่อง คุมเข้มการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงเวลากลางวัน ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
25 เมษายน 2568, 17:32น.
...
รฟม. ลงพื้นที่ตรวจเข้มความปลอดภัยในการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ช่วงเวลากลางคืน (Night Audit)
25 เมษายน 2568, 17:26น.
...
ข่าวทั้งหมด
X