สถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่พบผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจุบัน และเนื่องด้วยช่วงฤดูฝนที่ตกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ ทำให้มีน้ำขังซึ่งเหมาะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และถ้าหากเราไม่มีการป้องกันอาจทำให้เป็นไข้เลือดออกได้ อย่านิ่งนอนใจหากเป็นมีอาการป่วย อย่าคิดเพียงว่าเป็นไข้หวัดแค่ซื้อยามากินเดี๋ยวก็หาย แต่หากเป็นไข้เลือดออกขึ้นมาและไม่ได้รับการรักษาทันเวลาอาจเสียชีวิตได้ หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
หลังจากได้รับเชื้อจากยุงที่เป็นพาหะแล้วประมาณ 5 - 8 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรคที่เป็นรูปแบบต่างจากไข้หวัดทั่วไป 4 ประการ
มีไข้สูงลอย 39 - 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 - 7 วัน ทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้อาจสูงถึง 40 - 41 องศาเซลเซียสได้ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้น ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง คอแดง ได้แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล หรืออาการไอ เด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ และปวดรอบกระบอกตา ในระยะไข้นี้จะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งในระยะแรกจะปวดโดยทั่วไป และอาจปวดที่ชายโครงขวาในระยะที่มีตับโต
อาการเลือดออกที่ผิวหนัง โดยจะตรวจพบว่าเส้นเลือดเปราะแตกง่าย พบได้ตั้งแต่ 2 - 3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ กระจายอยู่ตามแขน ขาลำตัว รักแร้อาจมีเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน หากรุนแรงอาจมีอาเจียน และถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ อาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อก
ตับโต ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่3 - 4 นับแต่เริ่มป่วยตับจะนุ่มและกดเจ็บ
ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก มักจะเกิดช่วงไข้จะลดเป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมาซึ่งจะพบทุกรายในผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ โดยระยะรั่วจะมีประมาณ 24 - 28 ชั่วโมง ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลวเกิดขึ้น เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด/ช่องท้องมาก ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิต ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงรอบปากเขียวผิวสีม่วง ถึง 1.6 เท่า พบผู้ป่วยมากที่สุดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี 1,407 คนตัวเย็นชืด จับชีพจรหรือวัดความดันไม่ได้ ภาวะรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12-24ชั่วโมงหลังเริ่มมีภาวะช็อก หากว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
สถิติจากกรมควบคุมโรค ข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกประจำสัปดาห์ที่ 23 ข้อมูลล่าสุดวันที่ 18 มิถุนายน 2562 พบว่ามีผู้ป่วย 31,843 คน เสียชีวิต 48 คน เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2561 ถึง 1.6 เท่า
Cr.ข้อมูลและภาพจากเว็บไซต์ : ddc.moph