เพื่อนส่งพัสดุกล่องใหญ่และหนักมากกกกมาให้แอดค่ะ มาไกลจากนครศรีธรรมราชโน้นนนนนนนนน
พอเปิดออกดู โอ๊ะโอ๋ ขนมที่มาในช่วงสารทเดือน10 ขนมลา นั้นเอง
#ทำไม จึงเรียก ขนมลา
.
.
.
แอดไปค้นหามาให้ค่ะ ขอบคุณข้อมูลจากเวบไซต์หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้านมากๆค่ะ
“ขนมลา” น่าจะมาจากกะลา (กะลามะพร้าว) เพราะสมัยก่อนยังไม่มีกระป๋องใส่แป้งในการทอดลาใช้กะลา คนใต้เรียก “พรก” นำมาเจาะรูเล็กๆ หลายรู เมื่อตักแป้งใส่แล้วจึงแกว่งส่าย (คนใต้เรียก “ทอดลา”) แกว่งเป็นวงกลมไปตามรูปกระทะ แป้งที่ดีเส้นต้องไม่ขาด และเส้นต้องเล็กเท่ากับเส้นด้าย สีแป้งสะท้อนแวววาวเป็นประกาย ถ้าเส้นแป้งใหญ่จะเป็นปัญหาด้านความเชื่อที่ว่า “เปรตจะกินขนมลาไม่ได้” ตามความเชื่อที่ว่าคนที่ตายไปแล้วบางคนจะตกนรกกลายไปเป็นเปรต รูปร่างผอม สูงใหญ่ ตาโปน มีปากเท่ากับรูเข็ม ดังนั้นเส้นของขนมลาจะต้องเล็ก เหนียวนุ่มเป็นประกาย ไม่ขาดสายเหมือนกับเส้นไหมสามารถสอดรูเข็มได้
อีกความน่าจะเป็นถึงที่มาของชื่อ มาจากวิธีการทำค่ะ เล่ากันว่าน่าจะมาจากการเช็ดกระทะด้วยน้ำมัน ชาวใต้เรียกว่า “ลามัน” คือการทาเช็ดกระทะ เพราะทุกครั้งที่โรยแป้งลงกระทะจะต้องทาน้ำมันผสมไข่แดง เพื่อไม่ให้แป้งติดกระทะ การโรยแป้งลงในกระทะจะต้องมีการ “ลามัน” ทุกครั้ง ถ้าเป็นลาแผ่น ลามัน 1 ครั้ง จะลอกดึงแผ่นลาได้ 2 แผ่น ถ้ามากกว่านั้นแป้งจะติดกระทะ ลอกดึงขึ้นไม่ได้ การลอกดึงแผ่นลา ชาวใต้ เรียกว่า “การพับลา” ดังนั้นหากไม่มีการลามัน แผ่นลาจะพับหรือลอกดึงขึ้นจากกระทะไม่ได้ แป้งจะติดกระทะ ความสำคัญของการ “ลามัน” ตรงนี้จึงอาจเป็นที่มาของคำว่า “ขนมลา” นั่นเองค่ะ
#ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านทางภาคใ
ด้วยลักษณะของตัวขนม ที่มีรูปร่างเสมือนผืนผ้าแล
และด้วยขนมลาซึ่งมีลักษณะเส้นสายถักทอป็นแผ่นสลับไปสลั
อ่านบทความสนุกๆเพิ่มเติมได้ที่ js100funparty