รัฐผลักดันโครงการ"ยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนน" ณ จ.บึงกาฬ "เมืองหลวงปลูกยางภาคอีสาน"

26 กันยายน 2563, 15:37น.


          นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดโครงการนำการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ที่จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งถือเป็น"เมืองหลวงของการปลูกยางพาราในภาคอีสาน" มีการปลูกยางพารากว่า 1 ล้านไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครพนม และจังหวัดเลย ซึ่งโครงการดังกล่าวทกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกันวางแผน วิเคราะห์ และร่วมกันผลักดันโครงการให้เกิดเป็นรูปธรรม



          โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวฯ คือการนำยางพารามาผลิตเป็นเครื่องกั้นถนนครอบยางพารา (rubber fender berier) และหลักนำทางอย่างธรรมชาติ (rubber guide post) โดยการผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นเรื่องจำเป็น เพราะนอกจากโครงการจะมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนนแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการนำยางพาราซึ่งเป็นผลผลิตการเกษตรมาใช้ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวน ซึ่งหลังจากเริ่มคิกออฟโครงการตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 ส่งผลดีต่อราคายาง โดยปัจจุบันเมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ในส่วนของราคาแผ่นยางดิบธรรมชาติ มีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 61 บาท ปรับราคาจาากช่วงก่อนนี้ ที่ราคากิโลกรัมละ 43 บาท หรือราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ส่วนราคายาง"ก้อนถ้วย" ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางในภาคอีสาน ทำเป็นผลผลิตแล้วเอาไปขายนั้น ปัจจุบันราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 13 บาท ปรับราคาขึ้นก่อนหน้านี้ที่กิโลกรัมละ 20 บาท



          สำหรับในระยะยาวจะมีการขับเคลื่อนการรับซื้อยางพาราโดยกลไกของสหกรณ์ในจังหวัด ที่กำกับโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งรัฐบาลจะพยายามผลักดัน ให้มีการรับซื้ออยู่ที่ราคา 28 ถึง 30 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับปริมาณการใช้น้ำอย่างพาราสดในโครงการดังกล่าวในช่วง 3 เดือนนี้ พบว่ามีปริมาณการใช้ยางพารากว่า 50,000 ตัน เท่ากับปริมาณในปี 2561 เลยทีเดียว

X