สื่อสารกับผู้ป่วยสมองเสื่อม...ไม่ยาก ธรรมชาติของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีความบกพร่องในการสื่อสาร ทั้งการพูด การฟัง และการทำความเข้าใจกับคำพูดของคนอื่น แต่การสื่อสารกับผู้ป่วยสมองเสื่อมไม่ยากอย่างที่คิด
ถ้าเพียงแค่คุณ...
- เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่มีอคติ และไม่คิดแทนผู้ป่วย ที่สำคัญคือ ห้ามนินทา หรือว่ากล่าวผู้ป่วยต่อหน้า โดยเฉพาะเมื่อมีบุคคลที่ 3 อยู่ด้วย และพยายามฟังสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจะสื่อ หากไม่เข้าใจสามารถถามคำถามเดิมซ้ำได้
- ไม่ขัดจังหวะ โต้เถียง ให้เวลาผู้ป่วยได้แสดงความคิดของตัวเอง
- พูดช้าๆ ชัดๆ ถามทีละคำถาม การสื่อสารกับผู้ป่วยสมองเสื่อม ควรใช้คำพูดง่ายๆ ไม่ซับซ้อน อาจใช้ท่าทางประกอบการพูด หากเป็นคำถาม อาจเลือกใช้คำถามที่ให้ผู้ป่วยตอบเพียง “ใช่” “ไม่ใช่” เช่น เช้านี้ทานข้าวกับไข่เจียวหมูสับใช่มั้ย?
- หลีกเลี่ยงประโยคคำสั่ง หรือการห้าม และไม่ควรใช้น้ำเสียงสูง เช่น ถ้าไม่ต้องการให้ผู้ป่วยดื่มกาแฟ ไม่ควรพูดว่า “ห้ามดื่มกาแฟนะ” แต่ให้พูดว่า “ดื่มน้ำผลไม้มั้ย..อร่อยกว่านะ”
- ให้กำลังใจ และพยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูด ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมก็เหมือนกับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่ต้องการกำลังใจในการที่จะต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่ ดังนั้นคำพูด และการแสดงออกของคนใกล้ตัวจึงมีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก
- มีอารมณ์ขัน หรือหัวเราะบ้างระหว่างสนทนา จะช่วยลดความเครียดระหว่างกันได้
ถ้าผู้ดูแลสามารถสื่อสาร ทำความเข้าใจกับความต้องการของผู้ป่วยสมองเสื่อมได้อย่างถูกต้อง จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลด “ความเครียด” ของตัวเอง รวมถึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดี และไม่เครียดด้วย...
หากพบเห็นผู้พลัดหลง ที่มีสัญลักษณ์ดอก Forget Me Not คุณช่วยเขาได้ เพียงสแกน QR Code ติดต่อมาที่ จส.100...ปฏิบัติการรวมพลังน้ำใจ ช่วยพาผู้ป่วยสมองเสื่อมกลับบ้าน
--------------------------------------
สนับสนุนโดย..
- สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย
- รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
- ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ.จุฬาฯ
- จส.100
- บริษัท เฌอร่า จํากัด (มหาชน)
- บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
- บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
- บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในนาม ทรู-ดีแทค
- บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)
- น้ำดื่มสิงห์
- บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน)
- กลุ่มบริษัทอำพลฟูดส์
- MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง
- เซเว่น อีเลฟเว่น
#โรคสมองเสื่อม #อัลไซเมอร์ #สมาคมโรคสมองเสื่อม #JS100