จราจร
ของหายได้คืน
POST & SHARE
จราจร
ของหาย
ได้คืน
POST &
SHARE
117
Tweet
https://www.js100.com/th/site/post_share/view/150498
COPY
UN ร่วมมอบหมวกกันน็อก 2,106 ใบ ให้ กทม. หวังเด็กไทยปลอดภัยมากขึ้น เมื่อโดยสารมอเตอร์ไซค์
117
Tweet
https://www.js100.com/th/site/post_share/view/150498
COPY
23 เมษายน 2568, 12:01น.
“หมวกกันน็อก” นับเป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่ช่วยลดและป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ของทั้งผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ และยังช่วยลดอัตราเสียชีวิตได้ถึง 40% แต่การผลักดันให้คนไทยสวมหมวกกันน็อกทุกครั้งเมื่อขับขี่และโดยสารมอเตอร์ไซค์ ยังคงเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก
สะท้อนจากผลสำรวจที่พบว่า คนไทยสวมหมวกกันน็อกเพียง 43% แบ่งเป็นคนขับ 52% และคนซ้อนท้าย 20% และเมื่อโฟกัสไปที่กลุ่มเด็ก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญและอนาคตของประเทศ ยิ่งมีสัดส่วนที่น้อยมากเพียง 16% เท่านั้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้หมวกกันน็อคในเด็กนักเรียน และเพิ่มความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง องค์การสหประชาชาติ (UN) กรุงเทพมหานคร และภาคเอกชน จึงได้เกิดโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานขึ้น
โดยเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2568 ที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ นำโดย “นายฌอง ทอดต์” ผู้แทนพิเศษด้านความปลอดภัยทางถนนของสหประชาชาติ และ “นางมิเกลล่า ฟิลแบรย์-สตอเร่” ผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติประจำประเทศไทย “นพ.จอส ฟอนเดลาร์” ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย พร้อมด้วย “คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล” ประธานคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ร่วมกันได้มอบหมวกกันน็อก จำนวน 2,106 ใบ มูลค่า 2,500,000 บาท (รวมค่าขนส่ง) เพื่อรณรงค์การสวมหมวกกันน็อก และปลูกฝังพฤติกรรมขับขี่ที่ปลอดภัย ในกลุ่มเด็กและเยาวชน และส่งเสริมสนับสนุนให้เด็ก ๆ เข้าถึงหมวกกันน็อกที่มีมาตรฐาน โดยมี “นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีรับมอบ
นายฌอง ทอดต์ กล่าวว่า ความสำเร็จจากความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญที่เราจะกระตุ้นความปลอดภัยทางถนนในเอเชีย โดยเริ่มจากการเน้นให้เกิดการสวมหมวกกันน็อก ที่เป็นปัญหาหลักทำให้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน ที่ไม่ค่อยสวมหมวกกันน็อกบนถนน จึงจำเป็นต้องให้ความรู้เรื่องหมวกกันน็อก รวมถึงต้องมีการสาธิตและรณรงค์ทุกวันและตลอดเวลา ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยการนำของผู้นำที่เข้มแข็ง และยิ่งการเข้ามามีส่วนร่วมโดยคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล จะนำไปสู่การวางแผนที่จับต้องได้ให้กับประเทศของเรา
“การมีภาวะผู้นำในการตัดสินใจ จะหนุนให้เกิดความปลอดภัยทางถนน เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ดีของการไปสู่เป้าความสำเร็จได้ และจะดีขึ้นไปอีกถ้าสามารถมี Game Changer หรือผู้พลิกเกมส์ เช่นการดึงเอา Influencer อย่างนักกีฬาระดับโลก ระดับโอลิมปิก ที่คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล รู้จักแล้วชักชวนให้บุคคลเหล่านี้ มาช่วยรณรงค์สร้างความปลอดภัยทางถนนให้กับคนไทย” นายณฌอง ทอดต์ กล่าว
นางมิเกลล่า ฟิลแบรย์-สตอเร่ กล่าวเสริมว่า องค์การสหประชาชาติเล็งเห็นถึงความมุ่งมั่น และการให้คำมั่นการทำเรื่องหมวกกันน็อก เราเห็นว่าประเทศไทยมีผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก แต่มีอัตราสวมหมวกกันน็อกในสัดส่วนน้อย อย่างไรก็ตาม การมาของนายฌอง ทอดต์ ในครั้งนี้ จะเกิดไม่ได้หากไม่มีความมุ่งมั่นของผู้นำ และเชื่อว่าหมวกกันน็อกที่มอบให้ในครั้งนี้ จะช่วยรักษาชีวิตของเด็กและเยาวชน และจุดเร่ิมต้นหยุดการเสียชีวิตจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ในประเทศไทย
ด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างองค์การสหประชาชาติ และ กทม. ในครั้งนี้ นับเป็นการทำงานร่วมกันครั้งสำคัญ และต้องยอมรับว่าการสวมหมวกกันน็อก ไม่ใช่พฤติกรรมที่พื้นฐานของคนไทย จะพบเห็นว่ายังมีนักเรียนจำนวนไม่น้อย ที่ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์มาโรงเรียนโดยที่ไม่ได้สวมหมวกกันน็อก อย่างไรก็ตาม กทม. ก็ได้ส่งเสริมให้นักเรียนสวมหมวกกันน็อกมากขึ้น ทั้งการให้ความรู้และมอบขนมหรือของรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจ เป็นต้น
นอกจากนี้ กทม. ยังได้ดำเนินการปรับปรุงจุดเสี่ยงให้ถนนปลอดภัยมากขึ้น เช่น การปรับเพิ่มแสงส่องสว่างถนนตอนกลางคืน ในจุดที่มืดและได้รับแจ้งให้แก้ไข การปรับปรุงทางข้ามม้าลายให้ได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรมจราจร การใช้กล้อง CCTV ตรวจจับคนไม่สวมหมวกกันน็อก และการจำกัดความเร็วในเขตเมืองที่ 60 กม./ชม. ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุลงได้
ขณะที่ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กล่าวว่า ขอบคุณที่ให้โอกาสได้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทย โดยใช้งบประมาณส่วนตัวช่วยให้เด็กและเยาวชนไทย ซึ่งเป็นอนาคตของชาติปลอดภัยมากขึ้น สำหรับจุดมุ่งหมายการบริจาคหมวกกันน็อกในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เด็ก ๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัย ซึ่งจากการพูดคุยกับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ บอกว่าจะกำชับและส่งเสริมให้ความรู้ทั้งเด็กและผู้ปกครอง เพื่อให้หมวกที่ได้รับมอบไปไม่ถูกวางทิ้งไว้เฉย ๆ
สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากในระหว่างที่ นายฌอง ทอดต์ เดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1-7 พ.ย. 2567 และได้รับคำเชิญจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนฉิมพลี เพื่อสังเกตการณ์โครงการศึกษาความปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับเด็ก
ในวันดังกล่าว นายฌอง ทอดต์ ได้เดินทางมาพร้อมกับผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย และคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ซึ่งในระหว่างงานคุณหญิงปัทมา ได้ประกาศบริจาคหมวกกันน็อก ที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ 2,000 ใบ ให้กับเด็กนักเรียนในกรุงเทพมหานคร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“บขส.” ลงพื้นที่สถานีเดินรถเพชรบุรี – หัวหิน ลุยเพิ่มประสิทธิภาพรายได้เดินรถ – ส่งพัสดุภัณฑ์ เตรียมปรับตารางเดินรถใหม่ พร้อมเพิ่มจุดจอดรับ – ส่งผู้โดยสาร เส้นทางสนามบินดอนเมือง – หัวหิน เริ่ม 1 พ.ค.นี้
วันนี้, 14:41น.
...
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา 'พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน'(มีผลกระทบในช่วงวันที่ 26-29 เม.ย.68) ฉบับที่1
วันนี้, 07:43น.
...
สสส. สานพลัง สกร. ดึง บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” 30 แห่ง พร้อมครูศูนย์การเรียนรู้ ร่วมสร้างพื้นที่เติมสุข(ภาวะ) ในชุมชน ส่งต่อนวัตกรรม “Health Corner”
23 เมษายน 2568, 18:35น.
...
ข่าวทั้งหมด
X